รังสี UVC คืออะไร ? มีคุณสมบัติอย่างไร ? อันตรายต่อผิวเหมือน UVA UVB ไหม ?

UVC

รังสี UVC

หลังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 รังสี UVC เป็นที่รู้จักมากขึ้นและกลายเป็นอีกหนึ่ง New Normal ครับ มาในรูปแบบเครื่องอบรังสียูวีหรือหลอดไฟแสงยูวีสีฟ้า ที่หลายครอบครัวใช้ฆ่าเชื้อในน้ำดื่ม กระเป๋าสตางค์ หน้ากากอนามัย หรือสมาร์ตโฟน 

แสงยูวีซีคืออะไร ? มีคุณสมบัติอย่างไร ? อันตรายต่อผิวเหมือนกับรังสี UVA และ UVB หรือไม่ ? ป้องกันได้อย่างไรบ้าง ? หมอได้รวบรวมคำตอบมาให้แล้วครับ

คลิกอ่านหัวข้อที่สนใจเกี่ยวกับรังสี UVC


ทำความรู้จัก รังสี UVC คืออะไร ?

รังสี UVC คือ รังสีอัลตราไวโอเลตคลื่นสั้น ความยาวคลื่น 100-280 nm ให้พลังงานมากที่สุด และสามารถทำลายสารพันธุกรรม (DNA และ RNA) ของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก เชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือเชื้อโรคได้

นิยมนำแสง UVC มาประยุกต์ใช้เพื่อการฆ่าเชื้อโรคในสถานพยาบาล โรงงานอุตสาหกรรม ห้องวิจัย อาคาร หรือที่อยู่อาศัย หากใช้งานไม่เหมาะสม สามารถก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังและดวงตาในมนุษย์ได้ครับ

รังสี UVC คือ
การใช้รังสี UVC ฆ่าเชื้อโรค

รังสียูวีซี มีแหล่งกำเนิดมาจากไหน ?

รังสียูวีซีเป็นอีกหนึ่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่พบในแสงแดดเช่นเดียวกับ UVA และ UVB ครับ เนื่องจากมีความยาวคลื่นต่ำกว่า 290 nm จึงมักถูกดูดซับไว้ตั้งแต่ชั้นโอโซน ยกเว้นในบริเวณยอดเขาสูง หรือหากชั้นบรรยากาศถูกทำลาย ก็มีโอกาสที่แสง UVC จะส่องทะลุลงมายังพื้นโลกได้

ส่วนใหญ่รังสียูวีซีที่พบในชีวิตประจำวันของเราจะมาจากในรูปแบบหลอด UVC แสงสีฟ้า ที่สังเคราะห์ขึ้นผ่านระบบ “UVGI” (Ultraviolet Germicidal Irradiation) หรือระบบการใช้แสงยูวีความเข้มข้นสูงพิเศษ เพื่อฆ่าและทำลายเชื้อโรค เช่น อุปกรณ์ฆ่าเชื้อโรคในช้อนส้อม ตู้อบแห้งฆ่าเชื้อในบ้าน หรือเครื่องกรองน้ำ


คุณสมบัติของรังสี UVC มีอะไรบ้าง ?

  • มีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อโรคสูงถึง 99.99% กำจัดได้ทั้งเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย ยีสต์ เห็ด รา 
  • ใช้ฆ่าเชื้อโรคบนพื้นห้อง เฟอร์นิเจอร์ หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ โดยไม่ทำลายพื้นผิว ไม่ทิ้งสารตกค้าง
  • ใช้ฟอกอากาศให้สะอาด หรือใช้บำบัดน้ำเสีย ฆ่าเชื้อโรคในบ่อปลา สระว่ายน้ำ 
  • ทำให้อาหารปลอดเชื้อโรค ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร เช่น น้ำผลไม้พาสเจอร์ไรส์ น้ำดื่มบรรจุขวด
  • รังสียูวีซีไม่สามารถทะลุผ่านวัตถุต่าง ๆ ได้ เช่น กระจก ไม้ กระดาษ โลหะ ผ้า

แสง UVC ทำร้ายผิวเราได้หรือไม่  เป็นอันตรายต่อผิวไหม ?

แสง UVC สามารถสร้างความระคายเคืองต่อผิวและดวงตาของเราได้ครับ หากสัมผัสโดยตรง เสี่ยงผิวหนังอักเสบ ผิวไหม้ มะเร็งผิวหนัง กระจกตาอักเสบ และต้อกระจกได้ นอกจากนี้ในช่วงคลื่นความถี่ต่ำกว่า 240 nm ของรังสียูวีซี ยังก่อให้เกิดก๊าซโอโซน ซึ่งเป็นก๊าซพิษ เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจอีกด้วย จึงไม่แนะนำให้ใช้รังสียูวีซีกำจัดเชื้อโรคบนร่างกายของมนุษย์ครับ

หากจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ฆ่าเชื้อด้วยรังสี UVC ควรปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด เช่น สวมใส่อุปกรณ์ป้องกัน ใส่ถุงมือ สวมแว่นตา และปิดฝาอุปกรณ์รังสียูวีซีให้สนิท


ความแตกต่างของรังสี UVA, UVB และ UVC

สกินแคร์ป้องกัน UV
เปรียบเทียบความแตกต่างของรังสี UV แต่ละชนิด
  • รังสี UVA

รังสีชนิด Long Wave UVR มีความยาวคลื่น 320-400 nm พบมากกว่ารังสี UV ชนิดอื่น สามารถทะลุผ่านวัตถุ เช่น กระจก และเสื้อผ้าได้ หากโดนผิวหนังโดยตรงจะลงลึกถึงผิวชั้นหนังแท้ (Dermis) เป็นสาเหตุของริ้วรอยก่อนวัย ฝ้า กระ จุดด่างดำ

  • รังสี UVB

รังสีชนิด Middle UVR มีความยาวคลื่น 290-320 nm ไม่สามารถทะลุผ่านวัตถุได้ แต่ถ้าโดนผิวหนังโดยตรงจะลงลึกถึงผิวชั้นหนังกำพร้า (Epidermis) และผิวหนังแท้ชั้นบน ทำให้ผิวแสบร้อน และผิวไหม้แดด (Sunburn)

  • รังสี UVC

รังสีชนิด Short Wave UVR มีความยาวคลื่นต่ำกว่า 290 nm ไม่สามารถทะลุผ่านชั้นบรรยากาศ หรือวัตถุได้ แต่หากได้รับรังสี UVC โดยตรง สามารถก่อให้เกิดผิวไหม้ เสี่ยงเป็นมะเร็งผิวหนัง และจอประสาทตาอักเสบได้


วิธีป้องกันผิวจากรังสี UVA, UVB และ UVC

วิธีปกป้องผิวจากรังสีต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นรังสี UVA, UVB หรือ UVC หมอเน้นที่การเพิ่ม Skin Barrier ให้ผิวแข็งแรง เช่น การใช้สกินแคร์ในกลุ่มบำรุงผิว ป้องกันแสงแดด รวมถึงหลีกเลี่ยงแสงแดดครับ 

1. ใช้สกินแคร์บำรุงผิวให้แข็งแรง

ผิวที่แข็งแรง จะมี Skin Barrier ทำหน้าที่ป้องกันสิ่งแปลกปลอม มลภาวะ และรังสี UV ที่เข้ามาทำลายผิวได้ รวมถึงช่วยกักเก็บความชุ่มชื้น ทำให้ผิวมีความยืดหยุ่น เรียบเนียน ไม่แห้งกร้าน ไม่ลอกเป็นขุย แนะนำให้ใช้สกินแคร์ที่มีส่วนผสมของไฮยาลูรอนิก แอซิด (HA), วิตามินอี, วิตามินซี, เซราไมด์ และอาหารผิวอื่น ๆ ครับ

รวมถึงเลือกเนื้อครีมที่เหมาะสมกับสภาพผิว เช่น คนผิวแห้งควรเลือกมอยส์เจอร์ไรเซอร์เพิ่มความชุ่มชื้น และน้ำหล่อเลี้ยงผิว หรือผู้ที่มีผิวมันควรเลือกสกินแคร์เนื้อบางเบา และสูตร Oil-free ลดโอกาสเกิดการอุดตัน

หลีกเลี่ยงแสงแดดจัด
ใช้สกินแคร์บำรุงผิวให้แข็งแรง

2. ทาครีมกันแดดเป็นประจำทุกวัน

เราสามารถพบเจอรังสี UVA, UVB และ UVC ได้ แม้อยู่ภายในตัวอาคารครับ ควรใช้ครีมกันแดดหรือลิปมันที่มีค่า SPF 30 เป็นอย่างน้อย ทาเป็นประจำทุกวัน ทั้งใบหน้า ริมฝีปาก และลำตัว และเลือกผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสมกับตำแหน่งที่ทา เพราะครีมกันแดดสำหรับทาตัวมักมีส่วนผสมที่เข้มข้นกว่า หากนำมาทาใบหน้าอาจก่อให้เกิดการระคายเคือง แสบแดง หรือผิวลอกได้

DR. V SQUARE UV ABC SUNSCREEN CREAM SPF 40 PA+++

DR. V SQUARE Sunscreen Cream

Dr. V Square UV ABC Sunscreen Cream ครีมกันแดดสำหรับผิวหน้า ค่า SPF 40 PA+++ ช่วยปกป้องผิวจากรังสี UVA, UVB, Blue Light และ IR ได้อย่างสมบูรณ์แบบด้วย 3 ขั้นตอนในเนื้อเดียว นำเข้าจากประเทศเยอรมัน มาพร้อมสารสกัด Soothing Cooling จากประเทศเกาหลี ป้องกันผิวแสบร้อน ผิวแดงหลังโดนแดด

เนื้อสัมผัสบางเบา ไม่เหนียวเหนอะหนะ กันน้ำ มีสารคงตัว สามารถออกแดดได้ทันทีหลังทา หรือเติมระหว่างวันได้ เมื่อต้องทำกิจกรรมกลางแจ้ง ไม่ทิ้งคราบขาว โดยทางหมอ Dr. Vsquare ได้พัฒนาสูตรกันแดดให้ใช้ได้ทุกสภาพผิว แม้ผิวบอบบางแพ้ง่าย

3. ทากันแดดซ้ำระหว่างวัน

เหงื่อมักทำให้ครีมกันแดดหลุดลอกระหว่างวันครับ ควรทากันแดดซ้ำทุก ๆ 2 ชั่วโมง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปกป้องผิวจากรังสี UV ได้อย่างต่อเนื่อง หากทำกิจกรรมกลางแจ้งหรือว่ายน้ำ ควรเลือกครีมกันแดดที่สามารถกันเหงื่อและกันน้ำได้ร่วมด้วย

4. หลีกเลี่ยงการเผชิญแสงแดดจัด

แสงแดดจัดในช่วง 09.00-16.00 น. มีความเข้มข้นของรังสี UV ในระดับสูง และสูงสุดในช่วงเที่ยงวัน (12.00 น.) ที่พระอาทิตย์ตั้งฉากกับศีรษะของเรา หากจำเป็นต้องทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือออกจากอาคาร ควรทาครีมกันแดด และใช้อุปกรณ์ป้องกันแสงแดดอื่น ๆ ร่วมด้วย

หลีกเลี่ยงแสงแดดจัด
อยู่ในอาคารหลีกเลี่ยงการเผชิญแสงแดดจัด

5. สวมใส่อุปกรณ์กันแดดเมื่อต้องทำกิจกรรมข้างนอก

การทาครีมกันแดดอย่างเดียว อาจไม่เพียงพอครับ ควรสวมใส่อุปกรณ์กันแดดเสมอ เมื่อต้องทำกิจกรรมนอกอาคาร เช่น ร่มกันยูวี หมวกปีกกว้าง เสื้อคลุม และแว่นกันแดด

นอกจากนี้ควรสวมเสื้อผ้าให้มิดชิด และใส่เสื้อผ้าสีเข้ม ๆ เช่น สีดำ เพราะดูดซับความร้อนได้ดี และปกป้องผิวจากรังสียูวีได้มากกว่าเสื้อผ้าสีอ่อน ๆ แต่ควรพกน้ำติดตัวระหว่างวัน ป้องกันการเกิดภาวะขาดน้ำ หรือโรคลมแดด เมื่อร่างกายมีความร้อนสูงเกิน 40 องศาเซลเซียส


ใช้ครีมกันแดด SPF และ PA เท่าไหร่ ? จึงจะปกป้องผิวจาก UVA, UVB และ UVC

เราไม่จำเป็นต้องเลือกครีมกันแดดที่มีค่า SPF และ PA สูงสุดเสมอไปครับ ควรเลือกให้เหมาะสมกับกิจกรรมที่ทำมากกว่า หากอยู่ในอาคาร ครีมกันแดดที่มีค่า SPF 30 และ PA 3+ ขึ้นไป ก็สามารถปกป้องผิวจากแสงแดดที่ส่องเข้ามาทางหน้าต่างหรือกระจกได้แล้ว ส่วนกิจกรรมกลางแจ้งที่ต้องพบเจอกับรังสี UV โดยตรง ควรเลือกกันแดดที่ค่า SPF 50 และ PA 4+ ขึ้นไปครับ

vsquare tips

ข้อควรรู้ : ยิ่งครีมกันแดดมีค่า SPF สูง เช่น SPF 100 ก็ยิ่งมีประสิทธิภาพในการดูดซับแสง และปกป้องผิวจากแสงแดดครับ แต่มีความเสี่ยงที่จะทำให้ผิวระคายเคือง ดังนั้นครีมกันแดดที่ SPF 50 ถือว่าเพียงพอแล้วครับ


สรุปเรื่องรังสี UVC

รังสี UVC นิยมใช้ในระบบฆ่าเชื้อของอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เครื่องกรองน้ำ ตู้อบรังสียูวี เครื่องฆ่าเชื้อโรคในช้อนส้อม หากได้รับโดยตรงสามารถสร้างความระคายเคืองให้ผิวหนังและดวงตาของเราได้ไม่แพ้กับรังสีชนิดอื่น ๆ ในแสงแดดครับ เพื่อปกป้องจากอันตรายของแสง UV ทุกชนิด ควรปฏิบัติตัวอย่างเคร่งครัดตามคำแนะนำการใช้งานอุปกรณ์ สวมใส่เสื้อผ้าให้มิดชิด และหมั่นทาครีมกันแดดเป็นประจำวัน