ทากันแดดแล้วไม่ซึม

ทากันแดดแล้วไม่ซึม

เมื่อทาครีมกันแดดปกป้องผิว บางครั้งมักเจอปัญหาทากันแดดแล้วไม่ซึมครับ ส่งผลให้หน้ามันง่าย ครีมกันแดดเป็นคราบ บางรายที่มีผิวแห้งเป็นทุนเดิม หน้าอาจเป็นขุยได้

ทากันแดดแล้วไม่ซึม สาเหตุเกิดจากอะไร ? มีวิธีแก้ไขอย่างไรบ้าง ? พร้อมแนะนำวิธีลงกันแดดให้ซึมเข้าผิว หมอสรุปข้อมูลให้แล้วครับ

คลิกอ่านหัวข้อ ทากันแดดแล้วไม่ซึม


ทากันแดดแล้วไม่ซึม เกิดจากอะไร ?

สาเหตุที่ทำให้ทากันแดดแล้วไม่ซึม เกิดขึ้นจากหลายปัจจัย เช่น

  • เนื้อสัมผัสกันแดดหนาเกินไป – การทาครีมกันแดดปริมาณมากกว่า 2 นิ้วมือ ทำให้ทาครีมกันแดดแล้วไม่ซึม ซึมยาก ส่งผลให้ผิวเหนียวเหนอะหนะ
  • ส่วนผสมกันแดดที่ใช้ทิ้งคราบ – โดยเฉพาะครีมกันแดดประเภท Physical Sunscreen มีสารกันแดดที่เนื้อค่อนข้างหนัก มีโอกาสที่ทากันแดดแล้วไม่ซึม เพราะมักทิ้งคราบขาวบนผิว
  • ลงครีมกันแดดผิดวิธี – อย่างเช่นการลงสกินแคร์เนื้อหนัก หรือมันเกินไป แล้วตามด้วยการทาครีมกันแดด จะทำให้ทากันแดดแล้วซึมเข้าผิวได้ยาก และยังส่งผลให้หน้ามันหลังทาครีมกันแดดเช่นกันครับ
  • สภาพผิวที่แห้ง หรือ มันมากเกินไป – หากลงครีมกันแดดอาจทำให้ทากันแดดแล้วหน้ามัน หรือเป็นขุยหลังใช้กันแดดได้ เพราะกันแดดที่ใช้ไม่ซึมลงผิว
  • ครีมกันแดดไม่เหมาะกับสภาพผิว – การใช้ครีมกันแดดที่มีเนื้อหนักสำหรับคนผิวมัน จะทำให้ทากันแดดแล้วไม่ซึม เพิ่มความมันบนผิว ในขณะที่คนผิวแห้งถ้าใช้กันแดดที่ไม่มีส่วนผสมเพิ่มความชุ่มชื้น มีโอกาสที่ทากันแดดแล้วเป็นขุย ไม่ซึมเกาะผิวครับ
ทากันแดดแล้วไม่ซึม เกิดจากอะไร

ทาครีมกันแดดแล้วไม่ซึม ส่งผลต่อผิวอย่างไร ?​

หากทากันแดดแล้วไม่ซึมเข้าผิว มีโอกาสส่งผลต่อผิวทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ดังนี้

  • สารกันแดดปกป้องผิวได้ไม่เต็มที่ เนื้อครีมกระจายตัวไม่สม่ำเสมอ มีโอกาสเกิดปัญหาผิวต่าง ๆ เพราะถูกรังสีอัลตราไวโอเลต (รังสี UV) ทำร้าย เช่น
  • ครีมกันแดดมีประสิทธิภาพการปกป้องผิวลดลง
  • อาจมีอาการผิวแดง ผิวไหม้แดด เมื่อต้องเผชิญแสงแดดระหว่างวัน
  • ผิวเหนอะหนะ รู้สึกไม่สบายผิว ทำให้ทากันแดดแล้วหน้ามัน
  • เสี่ยงเกิดปัญหาผิวอุดตัน มีโอกาสเป็นสิวอุดตัน หรือ สิวอักเสบ
  • ยากต่อการแต่งหน้า อาจส่งผลให้เครื่องสำอางเป็นคราบ ไม่ติดทน หลุดง่าย
  • ผู้มีผิวบอบางแพ้ง่าย อาจเกิดอาการระคายเคืองผิว เพราะสารกันแดดมีปริมาณมากเกินไป

ทากันแดดแล้วไม่ซึม มีวิธีแก้อย่างไร ?

1. ซับความมันส่วนเกินก่อนลงกันแดด

ใครที่มีผิวมันมากเป็นทุนเดิม หมอแนะนำให้ใช้กระดาษทิชชูเช็ดหน้า หรือกระดาษซับมันแตะเบา ๆ เพื่อลดความมันบนผิว ก่อนลงครีมกันแดดครับ จะช่วยแก้ปัญหาทากันแดดแล้วไม่ซึม เพราะผิวที่มันเกินไปครับ ทำให้เนื้อครีมกันแดดซึมเข้าผิวดีขึ้น

2. ปรับวิธีการทากันแดดแทนการถูแรง ๆ

การลงกันครีมกันแดดด้วยการถู มีโอกาสที่ทากันแดดแล้วไม่ซึมเข้าผิวครับ เพราะเนื้อครีมจะเกาะอยู่บนผิวหนาเกินไป ซึมช้า บางครั้งอาจทิ้งคราบขาวได้ แนวทางแก้ไข คือ ควรปรับการทากันแดดจากการถู เป็นการใช้มือแตะหรือกดเบา ๆ จะช่วยให้เนื้อครีมแนบสนิทกับผิวมากกว่าเดิม

ยูวี เอ-บี-ซี ซันสกรีน ครีม
Dr. V Square UV ABC Sunscreen Cream

ครีมกันแดดทาแล้วซึมไว dr.vsq

ครีมกันแดดทาหน้า สูตรอ่อนโยน เนื้อสัมผัสบางเบา ทาแล้วซึมเข้าผิว Dr. V Square UV ABC Sunscreen Cream SPF 40 PA+++ ปกป้องผิวจากแสงแดดได้ทุกคลื่นรังสี ครอบคลุมทั้งรังสี UVA, UVB, UVC, Blue light และ Infrared ด้วยสารกันแดดที่มีความคงตัวสูงจากประเทศเยอรมนี

เนื้อครีมกันแดด Dr. V Square บางเบาครับ สามารถใช้ได้ทุกสภาพผิว แม้จะมีผิวบอบบางแพ้ง่ายก็ตาม นอกจากนี้ยังกันแดดได้ 3 กระบวนการในเนื้อครีมเดียว ป้องกันการสะท้อน กระเจิง และดูดซับ มาพร้อมสารสกัด Soothing Cooling จากประเทศเกาหลีใต้ ช่วยลดอาการแสบและระคายเคืองผิว เมื่อต้องเผชิญแสงแดดจัดระหว่างวัน

3. แบ่งรอบทาครีมกันแดดทีละชั้น

เป็นที่ทราบกันดี ว่าปริมาณทาครีมกันแดดที่เหมาะสม คือ 2 นิ้วมือ (วัดจากนิ้วชี้ และ นิ้วกลาง)

วิธีแก้เมื่อทากันแดดแล้วไม่ซึมที่หมอแนะนำ คือ ให้แบ่งรอบการทาเป็น 2 รอบครับ

  • รอบ 1 : ทากันแดดนิ้วชี้
  • รอบ 2 : ทากันแดดนิ้วกลาง

โดยเว้นช่วงให้ครีมกันแดดซึมเข้าผิวอย่างน้อยรอบละ 1-3 นาที เพื่อไม่ให้เกิดคราบ หรือรู้สึกเหนียวเหนอะหนะผิวครับ

หมอมีเขียนแนะนำขั้นตอนการทากันแดดที่ถูกต้องไว้ในบทความ วิธีทากันแดดที่ถูกต้อง สำหรับผิวหน้า – ผิวกาย ให้ผิวสวยห่างไกลจากแสงแดด สามารถเข้าไปอ่านเจาะลึกได้ครับ

แบ่งรอบทากันแดดให้ซึมไวขึ้น
ทาครีมกันแดด 2 รอบ เว้นช่วงรอบละ 1-3 นาที

4. ใช้สกินแคร์ที่ซึมเข้าผิวได้ง่าย

ในขั้นตอนบำรุงผิวก่อนลงครีมกันแดด ควรเน้นสกินแคร์ที่มีเนื้อสัมผัสบางเบาครับ โดยเฉพาะมอยส์เจอร์ไรเซอร์ หรือสกินแคร์ที่ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น เพราะการเลือกแบบเนื้อหนักหรือหนาเกินไป เมื่อลงกันแดดตามมีโอกาสที่ทากันแดดแล้วไม่ซึม หรือซึมช้าลง ทำให้บางครั้งไม่อยากทากันแดดก่อนออกจากบ้านครับ

คลิกอ่านเพิ่มเติม : ผลเสียของการ ไม่ทาครีมกันแดด ที่จะเกิดขึ้น ทำร้ายผิวมากกว่าที่คิด

5. เว้นระยะเวลาการลงสกินแคร์แต่ละตัว

หลังจากลงสกินแคร์ตัวใดตัวหนึ่งไปแล้ว ควรเว้นระยะเวลาอย่างน้อย 1-2 นาที ให้สกินแคร์ซึมเข้าผิวก่อนครับ หากลงสกินแคร์แล้วลงผลิตภัณฑ์ตัวอื่นตามทันที จะทำให้ครีมทากันแดดแล้วไม่ซึมลงผิว เพราะเนื้อสัมผัสของสารบำรุงผิวก่อนหน้าหนาเกินไป นอกจากนี้ยังเสี่ยงเกิดคราบหรือขุยครับ

6. เปลี่ยนไปใช้กันแดดสูตรใหม่

หากผลิตภัณฑ์ครีมกันแดดที่ใช้ซึมเข้าผิวยาก สามารถเปลี่ยนไปใช้ครีมกันแดดสูตรอื่นที่มีเนื้อสัมผัสบางเบา และซึมไวกว่าได้ครับ อาจจะเลือกเป็นกันแดดที่มีเนื้อครีมบางเบา อย่างเช่น เนื้อน้ำนม เนื้อ Fluid หรือเนื้อเจล เพื่อให้ทากันแดดแล้วซึมไวขึ้น ช่วยลดความรู้สึกเหนียวเหนอะหนะ หรือหนักหน้าระหว่างวัน

ทาครีมกันแดดแล้วไม่ซึมต้องเตรียมผิว
การเตรียมผิวก่อนทากันแดด ช่วยให้ครีมกันแดดซึมเข้าผิวดีขึ้น

วิธีทาครีมกันแดดให้ซึมเข้าผิวไวขึ้น

การทาครีมกันแดดแล้วซึมเข้าผิว ช่วยให้สารกันแดดทำหน้าที่ปกป้องผิวจากรังสี UV ในแสงแดดอย่างมีประสิทธิภาพครับ หมอขอแนะนำวิธีทากันแดด เพื่อให้เนื้อสัมผัสซึมเข้าผิวไวขึ้น ดังนี้

  1. เตรียมผิวให้พร้อมก่อนลงกันแดด เช่น การใช้มอยส์เจอร์ไรเซอร์เนื้อบางเบาที่เหมาะกับผิว เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นก่อนทากันแดด
  2. วอร์มครีมกันแดดก่อนทา ด้วยการถูครีมกันแดดเบา ๆ ที่ปลายนิ้วมือ จะช่วยให้เนื้อสัมผัสเกลี่ยง่าย และซึมไวขึ้น
  3. ใช้กันแดดปริมาณเหมาะสม ด้วยการบีบครีมกันแดด 2 ข้อนิ้ว หรือ 2 นิ้วมือ
  4. ทากันแดดด้วยการกดหรือแตะเบา ๆ ไม่ควรใช้มือถูครีมกันแดดแรง ๆ เพราะอาจทำให้หน้าเป็นคราบหรือขุยได้
  5. รอกันแดดแดดเซ็ตตัวก่อนแต่งหน้า โดยควรรออย่างน้อย 3-5 นาที แล้วค่อยเริ่มขั้นตอนการแต่งหน้าตามปกติ

สรุปเรื่องทากันแดดแล้วไม่ซึมเข้าผิว

การที่ทากันแดดแล้วไม่ซึมเข้าผิวเกิดได้หลายสาเหตุครับ เช่น ครีมกันแดดมีเนื้อหนักเกินไป ทาครีมกันแดดผิดวิธี ผิวไม่พร้อมสำหรับลงครีมกันแดด ฯลฯ ซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพการปกป้องผิวจากรังสี UV มีโอกาสเสี่ยงเกิดปัญหาผิวตามมาได้

การเลือกครีมกันแดดที่เหมาะกับผิว และปรับพฤติกรรมทากันแดดให้ถูกวิธีสำคัญมากครับ เพราะช่วยลดการเกิดปัญหาทากันแดดแล้วไม่ซึม ทำให้ผิวได้รับการปกป้องจากแสงแดด โดยที่ผิวไม่เหนียวเหนอะหนะตลอดวัน

อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่: 17 มีนาคม 2568

Share: