แสงแดด
แม้ว่า แสงแดด จะมีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น ช่วยกระตุ้นการผลิตวิตามินดี และ เซโรโทนิน แต่หากเราได้รับแสงแดดที่มีรังสี UV มากเกินไป โดยไม่มีการปกป้องผิว จะทำให้ผิวเราได้รับอันตรายจากแสงแดดครับ
ในบทความนี้หมอได้สรุปมาแล้ว ว่าแสงแดดมีรังสี UV อะไรบ้าง แสงแดดมีประโยชน์อย่างไร และหากไม่มีการป้องกันผิวจากแสงแดด จะเป็นอันตรายต่อผิวเรายังไง ? ผู้อ่านติดตามได้ในบทความนี้เลยครับ
คลิกอ่านหัวข้อที่สนใจเกี่ยวกับแสงแดด
แสงแดด คืออะไร ?
แสงแดด คือ คลื่นความถี่ของรังสี มีทั้งแบบที่เรามองเห็น และมองไม่เห็น นิยมเรียกรังสีเหล่านี้ว่า ‘รังสีอัลตราไวโอเลต หรือ รังสี UV’ ที่มีความยาวคลื่นสั้น อยู่ในช่วง 280-400 นาโนเมตร นอกจากนี้ยังมีแสงอินฟราเรด ที่มีความยาวคลื่นอยู่ในช่วง 700 นาโนเมตร – 1 มม.
โดยรังสียูวี และ แสงอินฟราเรดในแสงแดด สามารถทะลุเข้าสู่ชั้นผิวจนทำร้ายผิวหรือดวงตาได้ครับ แต่จะส่งผลมาก-น้อยแค่ไหน จะขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของแสงในช่วงเวลาต่าง ๆ ที่เราเจอแสงแดดในแต่ละวัน
แสงแดด มีรังสี UV อะไรบ้าง ?
หลัก ๆ แล้ว แสงแดด จะมีรังสี UV อยู่ 3 ประเภท คือ รังสี UVA UVB และ UVC โดยแต่ละตัวจะมีความแตกต่างกันดังนี้
- รังสียูวีเอ (UVA) : มีคลื่นความยาว 320-400 นาโนมิเตอร์ ซึ่งเป็นคลื่นรังสีที่ยาวที่สุด มีส่วนทำลายความยืดหยุ่นของผิว และสะสมเป็นอนุมูลอิสระ ทำให้ผิวเหี่ยวย่นได้
- รังสียูวีบี (UVB) : มีคลื่นความยาว 290-300 นาโนมิเตอร์ ไม่สามารถทำลายผิวชั้นในได้ แต่จะทำร้ายเกราะป้องกันผิว ทำให้ผิวแห้ง หยาบกร้าน กักเก็บความชุ่มชื้นได้น้อย และทำให้ผิวไหม้แดด
- รังสียูวีซี (UVC) : มีคลื่นความถี่สั้นที่สุด มักถูกบล็อกด้วยชั้นบรรยากาศของโลก ไม่เป็นอันตรายต่อผิวหนัง แต่หากชั้นบรรยากาศถูกทำลายลง รังสี UVC จะสามารถทะลุมายังโลกได้ และอาจทำลายผิวเราได้เช่นกัน
นอกจากนี้ในแสงแดดยังมีคลื่นรังสีอื่น ๆ อย่างแสงสีฟ้า หรือแสงอินฟราเรด อยู่ด้วยครับ ซึ่งล้วนส่งผลต่อการเกิดปัญหาผิวได้เช่นกัน หมอได้เขียนสรุปข้อมูลไว้ในบทความ แสงแดด มีรังสีอะไรบ้าง ? ทำร้ายผิวได้อย่างไร ? รังสีไหนอันตรายที่สุด ?
อันตรายจากแสงแดด มีอะไรบ้าง ?
โทษจากแสงแดด หรือ อันตรายจากแสงแดด ส่งผลต่อผิวหนังและดวงตาของเราครับ ทำให้เกิดปัญหาผิวหนัง และโรคทางสายตาที่เป็นอันตรายได้ ดังนี้
ผิวไหม้แดด
ผิวไหม้แดด (Sunburn) เป็นปัญหาผิวหนังที่พบเจอบ่อยครับ มักเกิดจากการเผชิญแสงแดดจัดเป็นเวลานาน ลักษณะอาการ คือ ผิวจะมีสีแดง รู้สึกระคายเคือง บางรายจะมีอาการเจ็บ แสบร้อน ผิวลอกเป็นขุย และมีผิวพุพอง โดยเกิดหลังจากผิวโดนแสงแดดไปแล้วประมาณ 5 ชั่วโมง จะไม่แสดงอาการทันที
หน้าเป็นฝ้า กระ จุดด่างดำ
แสงแดด เป็นปัจจัยกระตุ้นการเกิดฝ้า กระ รวมถึงจุดด่างดำบริเวณผิวหน้า มักจะพบฝ้าแดด หรือ กระแดดได้บ่อยในเพศหญิง ที่มีอายุ 30-40 ปีขึ้นไป โดยจะมีผื่นสีน้ำตาลที่บริเวณใบหน้า เช่น คาง หน้าผาก แก้ม ซึ่งเป็นจุดที่เผชิญแสงแดดบ่อย
หน้าเป็นสิว
รังสี UV จากแสงแดด เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดสิวประเภทต่าง ๆ เช่น สิวอักเสบ สิวอุดตัน สิวผด เมื่อรังสี UV กระทบเข้าสู่ผิว จะทำให้แบคทีเรียที่อยู่ในรูขุมขนรับแสง UV จนเกิดการกระตุ้นการอักเสบที่บริเวณรูขุมขน ยิ่งใครที่เหงื่อออกง่าย ก็จะยิ่งเพิ่มโอกาสการเกิดสิวผด และสิวอุดตันได้เช่นกัน
โรคทางดวงตา
แสงแดดที่กระทบกับสายตาโดยตรง จะมีส่วนช่วยเร่งการเกิดต้อชนิดต่าง ๆ เช่น ต้อลม ต้อเนื้อ และต้อกระจก ซึ่งมักจะพบต้อจากแสงแดดได้มากในกลุ่มผู้สูงอายุ
คลิกอ่านเพิ่มเติม : โรคที่เกิดจากแสงแดด มีอะไรบ้าง ? ภัยร้ายรังสี UV ที่ทำร้ายผิวหนัง
มะเร็งผิวหนัง
มะเร็งผิวหนัง (Skin Cancer) มักเกิดกับบริเวณผิวหนัง ที่สัมผัสกับแสงแดดสะสมมาเป็นระยะเวลานาน เช่น ใบหน้า หู และหลังมือ โดยรังสี UV จะทะลุเข้าชั้นผิวแล้วไปทำลาย DNA (Genotoxic) จนทำให้เกิดมะเร็งผิวหนังในที่สุดครับ
โรคลมแดด
โรคลมแดด (Heat Stroke) มักเกิดขึ้นเมื่อร่างกายของเรา มีอุณหภูมิความร้อนสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส ซึ่งการเผชิญแสงแดดจัดเป็นเวลานานติดต่อกันหลายชั่วโมง มีส่วนทำให้โรคลมแดดกำเริบได้ครับ ยิ่งช่วงฤดูร้อน ก็ยิ่งพบโรคนี้ได้บ่อยเมื่อเจอแสงแดดจัด
ประโยชน์แสงแดด มีอะไรบ้าง ?
แสงแดด ไม่ได้มีแต่โทษอย่างเดียวครับ แต่ยังมีข้อดีหรือประโยชน์ด้วยเช่นกัน โดยหมอได้สรุปประโยชน์ของแสงแดด ไว้ดังนี้
สร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย
เมื่อร่างกายเราได้รับวิตามินดีจากแสงแดด ตัววิตามินดีจะเข้าไปเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเม็ดเลือดขาวให้แข็งแรง จนทำงานได้ดียิ่งขึ้นครับ
ซึ่งการที่เม็ดเลือดขาวแข็งแรง จะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกายแข็งแรงตามไปด้วย ส่งผลให้ร่างกายต้านทานเชื้อโรคต่าง ๆ ที่จะเข้าสู่ร่างกายได้ดียิ่งขึ้น
ยับยั้งการหลั่งฮอร์โมนที่ทำลายแคลเซียม
ตัววิตามินดีที่ได้รับจากแสงแดดในช่วงเช้า เป็นวิตามินดีตัวสำคัญ ที่มีส่วนช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้ดีมากยิ่งขึ้น ป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน
เพราะวิตามินดีจากแสงแดด จะยับยั้งการหลั่งฮอร์โมนพาราไทรอยด์ (Parathyroid) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่จะไปสลายแคลเซียมออกจากกระดูก
กระตุ้นการผลิตเซโรโทนิน
เซโรโทนิน (Serotonin) เป็นสารเคมีในสมองที่ส่งผลต่อการคิด การควบคุมอารมณ์ การรับแสงแดดช่วงเช้า จะช่วยยกระดับอารมณ์ของเราให้รู้สึกมีความสุขขึ้น ป้องกันอาการซึมเศร้าที่มาจากฤดูกาล (Seasonal Affective Disorder : SAD)
โดยจำนวนการผลิตเซโรโทนินในวันนั้น ๆ มีผลมาจากปริมาณแสงแดดที่ร่างกายเราได้รับในแต่ละวัน ซึ่งระดับเซโรโทนินในสมอง จะสูงในวันที่ท้องฟ้าสดใส มากกว่าวันที่มีเมฆหรือวันที่ฟ้าครึ้ม
ยกระดับสุขภาพจิตใจ
อย่างที่ได้กล่าวไปแล้ว ว่าแสงแดดมีส่วนช่วยกระตุ้นการผลิตเซโรโทนิน การรับแสงแดดยามเช้าเป็นประจำทุกวัน มีส่วนช่วยให้เรารู้สึกอารมณ์ดีและรู้สึกเบิกบานตลอดวัน
เมื่อร่างกายได้รับสารเซโรโทนินเป็นปกติ นาฬิกาชีวิตของร่างกายเรา (Body Clock) จะทำงานได้ดีขึ้นครับ ทำให้นอนหลับง่ายและหลับสนิทมากขึ้นตามไปด้วย
รับแสงแดดตอนเช้า เติมวิตามินดี กี่โมงดีที่สุด ?
การรับวิตามินจากแสงแดดอย่างวิตามินดี ควรรับตอนแสงแดดอ่อน ๆ ในช่วงเช้าประมาณ 06.00 น. – 08.00 น. เป็นประจำทุกวัน หรืออย่างน้อยสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง วันละ 10-15 นาที
เพราะร่างกายจะสังเคราะห์ Vitamin D3 จากรังสี UVB ซึ่งเป็นรังสีที่มีคลื่นสั้น ซึ่งคลื่นรังสียูวีบีจะตกกระทบกับผิวหนังชั้นนอกสุดอย่างชั้นหนังกำพร้า ทำให้การรับวิตามินดีจากแสงแดดอ่อนในช่วงเช้านั้นดีสุดครับ
วิธีปกป้องผิวจากแสงแดด
- หลีกเลี่ยงการเผชิญแสงแดด เวลา 09.00 น. – 16.00 น.
ช่วงเวลา 10.00 น. – 16.00 น. เป็นช่วงที่แสงแดดมีรังสี UVB เข้มข้นสูง การเผชิญแสงแดดในช่วงนี้ติดต่อกันเป็นเวลานาน จะเสี่ยงต่อการเกิดอาการผิวไหม้แดดได้ง่าย
คลิกอ่านเพิ่มเติม : แดดช่วงไหนอันตราย รุนแรงที่สุด ? ควรปกป้องผิวอย่างไรให้ปลอดภัย ?
- แต่งกายปกป้องผิวให้มิดชิด
วิธีป้องกันแดดด้วยการสวมใส่เสื้อผ้าที่หนา สีเข้ม เช่น สีดำ สีน้ำตาล สีเทา จะช่วยปกป้องผิวจากแสงแดดจัดได้ครับ แต่แน่นอนว่าจะต้องรู้สึกร้อนขึ้นกว่าการสวมใส่เสื้อผ้าบาง ๆ เพื่อป้องกันการเกิดโรคลมแดด หมอแนะนำว่าให้หมั่นจิบน้ำระหว่างวันเพิ่มด้วยครับ
- ทาครีมกันแดดหน้าและตัวเป็นประจำ
ไม่ว่าจะอยู่ที่บ้านหรือออกไปทำกิจกรรมข้างนอก เราควรทาครีมกันแดดหน้าและตัวเป็นประจำครับ แม้ว่าอยู่บ้านรังสี UV ก็สามารถทะลุผ่านวัตถุแล้วทำร้ายชั้นผิวหนังเราได้
ครีมกันแดดทาหน้า และ ครีมกันแดดทาตัว ที่มีประสิทธิภาพการปกป้องผิวจากแสงแดด ควรมีค่า SPF30 ขึ้นไป มีคุณสมบัติกันน้ำ กันเหงื่อ เนื้อครีมเกลี่ยง่าย กันรังสี UVA, UVB, Blue Light และ Infrared ได้อย่างครอบคลุมครับ
คลิกอ่านเพิ่มเติม : ค่า SPF คืออะไร ปกป้องผิวได้นานไหม เลือกใช้ค่าเท่าไหร่ดีที่สุด ?
ครีมกันแดดปกป้องผิวจากแสงแดด
DR. V SQUARE UV ABC SUNSCREEN CREAM SPF40 PA+++
ครีมกันแดดสำหรับผิวหน้า Dr. V Square UV ABC Sunscreen Cream ช่วยปกป้องผิวจากรังสี UVA, UVB, แสงอินฟราเรด (Infrared) และแสงสีฟ้า (Blue Light) ได้อย่างครอบคลุม เหมาะกับทุกสภาพผิว แม้มีผิวมัน ผิวแพ้ง่าย ผิวแห้ง หรือผิวผสมครับ
ตัวเนื้อครีมกันแดด Dr. V Square เกลี่ยง่าย มีเนื้อสัมผัสบางเบา หลังทาแล้วจะไม่รู้สึกเหนียวเหนอะหนะผิว พร้อมทั้งยังมีส่วนผสมจากกลีเซอรีน (Glycerin) ที่มีส่วนดึงน้ำเข้าสู่ผิว ทำให้ผิวชุ่มชื้นขึ้น
- กางร่มเมื่อเจอแสงแดดจัด
เมื่อต้องออกไปทำกิจกรรมข้างนอก หมอแนะนำว่าควรหาร่มกัน UV คู่ใจพกติดมือไปด้วยครับ การกางร่มที่เคลือบสารกันรังสี UV จะช่วยปกป้องผิวและดวงตา ไม่ให้โดนแสงแดดโดยตรง
- ใส่แว่นกันแดดปกป้องผิวรอบดวงตา
การใส่แว่นกันแดดจะช่วยปกป้องผิวรอบดวงตา ไม่ให้เผชิญกับแสงแดดโดยตรง เพราะการที่ดวงตาเจอแสงแดดจัดเป็นระยะนานหลายปี จะทำให้เสี่ยงต่อการเกิดต้อชนิดต่าง ๆ รวมถึงเกิดอาการตาอักเสบได้ครับ
แสงแดด ส่งผลต่อระดับความแรงของรังสี UV หรือไม่ ?
ความเข้มข้นของแสงแดด จะส่งผลต่อระดับความรุนแรงของรังสี UV ตลอดทั้งวันและทุกวันครับ โดยรังสี UV จะสูงสุดในช่วงเวลาเที่ยงวัน (12.00 น.) เพราะเป็นเวลาที่พระอาทิตย์ตั้งฉากกับศีรษะของเราโดยตรง ยิ่งในช่วงฤดูร้อน ระดับความรุนแรงของรังสี UV ก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วยครับ
สรุปเรื่องแสงแดด
แสงแดด ช่วยกระตุ้นให้ร่างกายผลิตวิตามินดี รวมถึงกระตุ้นร่างกายให้เตรียมพร้อมเริ่มวันใหม่ แต่หากไม่ปกป้องผิวจากแสงแดด ด้วยการทาครีมกันแดดก่อนออกจากบ้านอย่างถูกวิธี ก็จะเป็นอันตรายต่อผิวหนังในระยะยาว เช่น ฝ้าแดด กระแดด ผิวหนังไม้ มะเร็งผิวหนัง ฯลฯ
การป้องกันผิวหนังจากแสงแดดที่ดีที่สุด หมอขอแนะนำว่าให้ทาครีมกันแดดทาตัว และครีมกันแดดทาหน้า ที่มีค่า SPF 30 ขึ้นไป เป็นประจำทุกวัน แม้ว่าจะอยู่แค่บ้านเฉย ๆ ก็ควรทาป้องกัน เพราะแสงแดดสามารถทะลุผ่านวัตถุแล้วมาทำร้ายชั้นผิวหนังเราได้ครับ