กระแดด
กระแดด (Solar Lentigo) ถือเป็นอีกหนึ่งปัญหาผิว ที่สร้างความกวนใจให้กับใครหลายคนครับ เพราะกระแดดจะเป็นจุดเล็ก ๆ บนใบหน้า ทำให้บางคนอาจสูญเสียความมั่นใจได้ ใครที่ผิวเป็นกระแดดแล้วกำลังมองหาแนวทางการรักษา
ในบทความนี้หมอได้สรุปมาให้แล้ว ว่ากระแดดเกิดจากอะไร ขึ้นบริเวณไหนได้บ้าง พร้อมแนะนำวิธีรักษา รวมถึงวิธีป้องกันการเกิดกระแดด ติดตามกันได้ผ่านบทความนี้ครับ
คลิกอ่านหัวข้อที่สนใจเกี่ยวกับกระแดด
กระแดด คืออะไร ?
กระแดด คือ กระชนิดหนึ่ง ที่มีสาเหตุหลักจากรังสีอัลตราไวโอเลต (รังสี UVA) มีลักษณะเป็นปื้นสีน้ำตาล เป็นราบ ๆ คล้ายกับน้ำหมึกที่หยดลงบนผิว ไม่มีรอยนูน
ส่วนใหญ่แล้ว กระแดดจะขึ้นบริเวณผิว ที่สัมผัสโดนแสงแดดนานติดต่อกันครับ เช่น โหนกแก้มทั้ง 2 ข้าง จมูก คอ แขน ฝ่ามือ โดยหากไม่ได้เข้ารับการรักษากระแดดอย่างถูกวิธี หรือไม่ปกป้องผิวจากแสงแดด ก็มีโอกาสที่กระแดดจะเพิ่มจำนวนมากขึ้น
กระแดด เกิดจากอะไร ?
สาเหตุหลักของการเกิดกระแดด มีดังนี้
- รังสี UVA ในแสงแดด
ในแสงแดดจะมีรังสี UVA และ รังสี UVB ซึ่งรังสี UVA เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดกระแดดบริเวณผิวของเราครับ โดยรังสี UVA มีคลื่นความยาวสูงสุด แม้ว่าค่าพลังงานจะต่ำกว่ารังสี UVB แต่สามารถทะลุเข้าสู่ชั้นผิวหนังกำพร้า และชั้นผิวหนังแท้ได้
ที่สำคัญรังสี UVA ทะลุผ่านวัตถุ อย่างกำแพงกระจกได้ครับ เมื่อผิวเราสัมผัสโดนแสง UVA ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน นอกจากจะทำให้ผิวเป็นกระแดดแล้ว ยังก่อนให้เกิดปัญหาผิวอื่น ๆ ตามา เช่น ฝ้าแดด ริ้วรอยก่อนวัย ผิวหมองคล้ำ รอยตีนกา ฯลฯ
คลิกอ่านเพิ่มเติม : 10 วิธีแก้ ผิวหน้าหมองคล้ำ บอกลาหน้าไม่มีราศรี พร้อมเพิ่มความกระจ่างใส
- ฮอร์โมนในร่างกาย
ฮอร์โมนที่ต่อมใต้สมองส่วนกลาง เมลาโนไซท์ สติมูเลติง ฮอร์โมน (Melanocyte Stimulating Hormone หรือ MSH) มีความสัมพันธ์กับการสร้างเม็ดสีเมลานิน (Melanin Pigment) หากฮอร์โมน MSH มีน้อยเกินไป จะทำให้สีผิวขาวซีด ในทางกลับกันหากฮอร์โมน MSH มีมากเกินไป จะส่งผลให้ผิวหนังเข้มขึ้น
- อายุที่เพิ่มขึ้น
อายุที่เพิ่มขึ้น มีผลต่อการเกิดกระแดดได้เช่นกันครับ เพราะผิวหนังกำพร้าได้รับรังสี UV ติดต่อกันเป็นเวลานาน โดยมักจะพบกระแดดจำนวนมาก เมื่อเข้าสู่วัยกลางคนจนถึงวัยสูงอายุ สามารถเป็นกระแดดได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิงครับ ยิ่งใครที่มีผิวขาว ก็จะเห็นรอยกระแดดชัดมากขึ้นเป็นพิเศษ
วิธีรักษากระแดด แบบเห็นผล มีแบบไหนบ้าง ?
1. ทำเลเซอร์กำจัดกระแดด
การรักษากระแดดด้วยการทำเลเซอร์ จะเน้นไปที่การยิงเม็ดสีเมลานินในกระ ให้จางลงและสลายไป โดยเลเซอร์รักษากระแดด ที่นิยมใช้รักษา มีดังนี้
- Q-switched Lasers : เลเซอร์ที่ให้พลังงานเป็นจังหวะสั้น ๆ โดยจะยิงเม็ดสีเมลานินในกระ เพื่อให้ร่างกายเรากำจัดเม็ดสีเองได้ตามธรรมชาติ
- Intense Pulsed Light (IPL) : เน้นไปที่การยิงเมลานินในกระโดยตรง เพื่อทำให้เม็ดสีสลาย และแลดูจางลง
- Pico Laser : เลเซอร์ที่ยิงเม็ดสีเมลานินแบบลงชั้นผิว แบบเป็นจังหวะสั้นและเร็ว ทำให้เม็ดสีแตกตัวและสลายได้ง่ายขึ้น
การรักษากระแดดด้วยเลเซอร์จะเห็นผลช้าหรือเร็ว จะขึ้นอยู่กับสภาพผิวของแต่ละคน ลักษณะกระแดดที่ขึ้นบริเวณผิว หากมีกระแดดจำนวนน้อย การรักษาก็จะใช้ระยะเวลาที่รวดเร็วกว่า และเห็นผลไวกว่าคนที่มีกระแดดจำนวนมากครับ
2. ลอกผิวกำจัดเซลล์ผิว
วิธีรักษากระแดดด้วยการลอกผิว จะเป็นการใช้กรดกำจัดเซลล์ผิวบริเวณชั้นบนสุด เพื่อให้ผิวหนังได้ฟื้นฟูตัวเอง ปรับสีผิวให้สม่ำเสมอ ส่งผลให้รอยกระบริเวณผิวดูจางลง การรักษากระแดดด้วยวิธีการนี้ จะต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแล โดยแพทย์ผิวหนังเท่านั้น ไม่สามารถทำการลอกเซลล์ผิวได้ด้วยตัวเอง เพราะอาจจะทำให้เกิดอันตรายกับผิว จนเกิดเป็นรอยแผลเป็นถาวรได้ครับ
3. ใช้ยาทาลดกระให้ดูจางลง
การรักษากระแดดด้วยการใช้ยาทาเพื่อลดกระ ควรเป็นยาที่จ่ายโดยแพทย์ผิวหนังเท่านั้น เพราะอาจจะทำให้เกิดผลข้างเคียงกับผิวเราได้ครับ โดยกลุ่มยาที่นิยมมานำใช้รักษากระแดด ให้รอยแลดูจางลง มีดังนี้
- กรดผลไม้ (AHA) : เป็นกรดที่ได้จากผลไม้ ช่วยผลัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วให้หลุดออก พร้อมมีส่วนช่วยยับยั้งการผลิตเม็ดสีเมลานิน นอกจากจะช่วยลดรอยกระได้แล้ว ยังช่วยลดรอยฝ้า รวมถึงจุดด่างดำได้อีกครับ
- เรตินอล (Tretinoin) : เป็นกลุ่มอนุพันธ์จากวิตามิน A มีส่วนช่วยลดรอยกระให้จางลงได้ พร้อมยังช่วยเร่งการผลัดเซลล์ผิวได้เป็นอย่างดี
4. ใช้สกินแคร์ที่มีส่วนผสมช่วยลดกระ
ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนช่วยลดกระ ฝ้า รวมถึงจุดด่างดำหลากหลายยี่ห้อครับ การรักษากระแดดด้วยการใช้สกินแคร์ จะเป็นการผลักครีมบำรุงเข้าผิวหน้าเป็นประจำทุกวัน ซึ่งจะคล้าย ๆ กับการทำ Treatment หน้า ส่วนใหญ่แล้ว จะเป็นสกินแคร์ที่มีส่วนผสมจากกรด AHA หรือ กลุ่มอนุพันธ์วิตามินเอ แต่การรักษากระแดดด้วยวิธีนี้ จะเห็นผลค่อนข้างช้า หากเทียบกับวิธีอื่นทั้งหมดครับ
กระแดด อันตรายหรือไม่ ? เป็นมะเร็งผิวหนังได้ไหม ?
กระทั่วไป และ กระแดด ไม่ได้เป็นอันตรายต่อชีวิตครับ และกระแดดไม่สามารถพัฒนากลายเป็นมะเร็งผิวหนังได้
แต่หากมีกระเนื้อสีเข้ม สีคล้ำ ขึ้นแบบกะทันหันจำนวนมาก เป็นจุด ๆ ตัวกระมีขนาดใหญ่ขึ้น ที่บริเวณผิวหนัง เช่น หัวไหล่ ช่วงอก แขน หมอแนะนำว่าควรรีบเข้าพบแพทย์ครับ เพื่อแพทย์จะได้วินิจฉัยให้ชัดเจน ว่าเป็นกระเนื้อธรรมดา หรือเป็นมะเร็งผิวหนังกันแน่
เป็นกระแดด ดูแลตัวเองอย่างไร ?
แนวทางการดูแลตัวเองเมื่อเป็นกระแดด ที่หมอจะแนะนำ มีดังนี้
- ทาครีมกันแดด
ผิวหน้า ผิวกาย เป็นประจำทุกวัน แม้ว่าจะอยู่ในร่ม เราก็ควรทากันแดดเสมอครับ เพราะรังสียูวีเอในแสงแดด เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดกระแดด
การทากันแดดอย่างน้อย 2 ข้อนิ้ว หรือประมาณ 1-2 เหรียญสิบ รวมถึงการเติมกันแดดระหว่างวัน จะช่วยลดการเกิดกระแดดในอนาคตได้ หมอได้เขียนวิธีทากันแดดได้ในบทความ วิธีทากันแดดที่ถูกต้อง เข้าไปอ่านเพิ่มเติมครับ
- หลีกเลี่ยงการเจอแสงแดด
ในช่วงเวลา 09.00 น. – 16.00 น. เพราะมีความเข้มข้นของแสงยูวีสูง หากมีความจำเป็นออกไปข้างนอกในช่วงเวลาดังกล่าว ควรสวมใส่อุปกรณ์กันแดด เช่น หมวก แว่นกันแดด กางร่ม สวมใส่เสื้อคลุม เสมอครับ เพื่อลดการสัมผัสกับแสง UV โดยตรง
- บำรุงผิวอย่างสม่ำเสมอ
แม้ว่าผิวเป็นกระแดด เราก็ควรทาครีมบำรุงผิวอยู่เสมอครับ เพื่อเสริมเกราะป้องกันผิวให้แข็งแรง
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
อย่างน้อยวันละ 6-8 ชั่วโมง เพราะการนอนน้อยจะส่งผลต่อฮอร์โมนในร่างกาย ทำให้ทำงานได้ไม่ค่อยดี ส่งผลให้ฮอร์โมนที่เกี่ยวกับเมลานินมีประสิทธิภาพต่ำลง จนอาจทำให้การผลิตเม็ดสีเมลานินผิดปกติได้ครับ
- ทานอาหารที่มีประโยชน์
ให้ครบทั้ง 5 หมู่ในแต่ละมื้อ หากเน้นอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระเป็นพิเศษ ก็จะยิ่งส่งผลดีต่อร่างกายครับ
วิธีป้องกันการเกิดกระแดด ในแบบฉบับทำตามได้จริง
แนวทางป้องกันการเกิดกระแดดที่หมออยากแนะนำ สามารถทำตามได้ดังนี้ครับ
- หลีกเลี่ยงการเจอแสงแดดจัดในระหว่างวัน โดยเฉพาะช่วงเวลา 09.00 น. – 18.00 น. เพราะรังสียูวีเอในแสงแดด เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดกระแดดบริเวณผิว
- สวมใส่อุปกรณ์กันแดด เช่น กางร่มกันยูวี แว่นกันแดด เสื้อคลุม เมื่อต้องออกไปข้างนอกในช่วงที่แสงแดดจัด
- ดูแลผิวหน้าให้แข็งแรงเสมอ เช่น การทาครีมบำรุงผิว การเติมวิตามินผิวด้วยเมโสหน้าใส (Mesotherapy)
- นอนให้พอ นอนให้เป็นเวลา เพราะการนอนหลับพักผ่อน จะส่งผลต่อการผลิตฮอร์โมนในร่างกายครับ หากนอนไม่พอฮอร์โมนที่สัมพันธ์กับเม็ดสีเมลานิน จะทำงานได้ไม่ค่อยดี ซึ่งอาจจะส่งผลให้การผลิตเม็ดสี เกิดความผิดปกติได้ครับ
- ทาครีมกันแดด ทั้งผิวหน้าและผิวกาย เป็นประจำทุกวัน แม้แต่วันที่อยู่แต่บ้านก็ควรทากันแดดครับ โดยควรเลือกครีมกันแดดที่มีค่า SPF 30+ ขึ้นไป และมีค่า PA 3+ (สามบวก) ขึ้นไป เพราะจะปกป้องผิวจากรังสี UV ได้ดีกว่าครับ
ครีมกันแดดผิวหน้า ลดความเสี่ยงการเกิดกระแดด
DR. V SQUARE UV ABC SUNSCREEN CREAMSPF 40 PA+++
ครีมกันแดดผิวหน้า Dr. V Square UV ABC Sunscreen Cream เป็นกันแดดแบบ Hybrid ที่มีสารกันแดดคงตัวตามมาตรฐานเยอรมัน สูตรนี้หมอคิดค้นมาแล้วว่าใช้ได้กับทุกสภาพผิว แม้มีผิวบอบบางก็ใช้ได้ครับ ช่วยปกป้องผิวจากรังสี UVA สาเหตุหลักของการเกิดกระแดด รวมถึงรังสี UVB ต้นตอของการเกิดผิวไหม้แดด นอกจากนี้ยังปกป้องผิวจากแสงสีฟ้า และแสงอินฟราเรดได้ด้วยเช่นกัน
ตัวเนื้อครีม Dr. V Square ให้สัมผัสที่เกลี่ยง่าย แห้งซึมเข้าผิวไว ทาแล้วไม่เหนียวเหนอะหนะผิว มาพร้อมกับส่วนผสมจากกลีเซอรีน ที่ช่วยบำรุงผิวให้ชุ่มชื้นหลังทา ซึ่งการใช้กันแดดเป็นประจำทุกวัน จะช่วยลดโอกาสการเกิดกระแดดในอนาคตได้ครับ
กระแดด รักษาให้หายขาดได้ไหม ?
กระแดด ไม่มีทางรักษาให้หายขาดได้ 100%
เพราะหลังจากรักษากระแดดด้วยวิธีต่าง ๆ แล้ว เรายังต้องเผชิญแสงแดดในแต่ละวันอยู่ดีครับ จึงมีโอกาสที่กระแดดจะขึ้นซ้ำบริเวณผิวอีกรอบอยู่ตลอดเวลา หากปกป้องผิวจากแสงแดดไม่ดีพอ
โดยการรักษากระแดดด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น ทำเลเซอร์ ทายาลดกระ การลอกผิว ฯลฯ จะช่วยให้กระดูตื้นขึ้น และรอยกระแดดแลดูจางลงครับ ฉะนั้นแล้วเราต้องปกป้องผิวจากแสงแดดอยู่เสมอ เพื่อลดโอกาสการเกิดกระแดดในอนาคตครับ
สรุปเรื่องกระแดด
กระแดด มักเกิดขึ้นหลังจากที่ผิวเราเผชิญกับแสงแดดจัด ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานหลายปี โดยพบกระแดดมากในกลุ่มวัยกลางคนจนถึงวัยสูงอายุ การมีนิสัยดูแลผิวที่ดี จะช่วยลดโอกาสการเกิดกระแดด รวมถึงปัญหาผิวต่าง ๆ เมื่อเราอายุมากขึ้นได้ครับ
ซึ่งวิธีง่ายที่สุด ที่หมอแนะนำ คือ การทาครีมกันแดดหน้าและตัว เป็นประจำทุกวันก่อนออกจากบ้าน อย่างน้อย 15-30 นาที โดยทากันแดดซ้ำทุก 2-3 ชั่วโมง รวมถึงการปกป้องผิวเมื่อต้องเผชิญแสงแดดจัดด้วยการกางร่ม ใส่แว่นกันแดด ใส่เสื้อคลุม เพียงเท่านี้ก็ช่วยลดโอกาสการเกิดกระแดดได้ครับ