ทากันแดดแล้วซับหน้า

ทากันแดดแล้วซับหน้า

หลังทาครีมกันแดดเราอาจรู้สึกว่าหน้ามันขึ้นได้ครับ การทากันแดดแล้วซับหน้าจึงเป็นทางเลือกที่หลายคนสนใจ เพราะช่วยลดความมันบนผิว

ทาครีมกันแดดแล้วซับหน้าได้ไหม ? ควรซับหน้าหลังลงกันแดดหรือไม่ ? หากซับหน้าหลังใช้กันแดด จะส่งผลต่อประสิทธิภาพการปกป้องผิวจากรังสี UV ไหม ? หมอสรุปข้อมูลให้ในบทความนี้ครับ

Key Takeaway

ทากันแดดแล้วซับหน้า

  • ไม่ควรใช้กระดาษทิชชู หรือ กระดาษซับหน้ามัน ซับหน้าหลังทาครีมกันแดด
  • ทากันแดดแล้วซับหน้าตาม อาจทำให้กันแดดบนผิวหลุดลอก
  • ประสิทธิภาพกันแดดลดเมื่อซับหน้าหลังทาครีมกันแดด
  • หากทากันแดดแล้วหน้ามัน ควรเซ็ตผิวด้วยแป้งเท่านั้น
  • ควรค่อย ๆ ทาครีมกันแดด เกลี่ยเบา ๆ ให้กันแดดซึมเข้าผิวได้ไวขึ้น

คลิกอ่านหัวข้อ ทากันแดดแล้วซับหน้า


ทากันแดดแล้วซับหน้าได้ไหม ?

ทาครีมกันแดดแล้วซับหน้า ทำได้ครับ แต่หมอแนะนำว่าไม่ควรทำ

เพราะการทากันแดดแล้วซับหน้าตามทันที อาจทำให้ชั้นกันแดดที่เคลือบบนผิวบางส่วนหลุดออก จนไม่สามารถทำหน้าที่ปกป้องผิวจากรังสีอัลตราไวโอเลตได้อย่างดีพอ และแน่นอนครับว่ามีผลต่อประสิทธิภาพกันแดด


ควรใช้กระดาษซับมัน ซับหน้าหลังทากันแดดหรือไม่ ?

ไม่ควรใช้กระดาษซับมัน หรือ กระดาษทิชชู ซับหน้าหลังทากันแดดทันทีครับ

โดยทั่วไปแล้ว กระดาษซับหน้าจะมีหน้าที่ดูดซับน้ำมันส่วนเกินออกจากผิว หากใช้กระดาษซับมันซับหน้าหลังทากันแดด อาจทำให้สารกันแดดที่เคลือบบนผิวบางส่วนหลุดออกได้ ส่งผลให้ครีมกันแดดปกป้องผิวได้ไม่เต็มที่

หากต้องการใช้กระดาษซับมันซับหน้าหลังทาครีมกันแดด สามารถใช้ได้ช่วงระหว่างวันครับ เป็นการลดความมันบนผิวก่อนทาครีมกันแดดซ้ำ แต่ต้องใช้วิธีการแตะซับเบา ๆ เท่านั้น ไม่ถูครับ

ทาครีมกันแดดระหว่างวันอย่างไร ไม่ให้เมคอัพพัง หมอเขียนไว้ในบทความ วิธีเติมกันแดดระหว่างวันสำหรับผิวหน้า เมคอัพไม่พัง ป้องกันรังสี UV ต่อเนื่อง สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ครับ

กระดาษซับมัน ซับหน้าหลังทากันแดด
เลี่ยงการใช้กระดาษซับมัน ซับหน้าหลังทาครีมกันแดด

ทากันแดดแล้วซับหน้า ทำให้ประสิทธิภาพกันแดดลดลงไหม ?

การทากันแดดแล้วซับหน้าเพื่อลดความมันบนผิว มีผลทำให้ประสิทธิภาพของครีมกันแดดลดลง

เพราะสารกันแดดที่เคลือบเกาะผิวบางส่วนหลุดออก จากการใช้กระดาษทิชชูหรือกระดาษซับมันซับหน้า ทำให้บริเวณผิวที่ถูกซับออกไม่ได้รับการปกป้องอย่างดีพอ คลื่นรังสีจากแสงแดดจึงสามารถทำร้ายผิวได้ครับ ไม่ว่าจะเป็นรังสี UVA, UVB, UVC, Blue light หรือ Infrared

คลิกอ่านทำความรู้จักคลื่นรังสีต่าง ๆ เพิ่มเติม

ทากันแดดแล้วซับหน้า เสี่ยงเกิดปัญหาผิวใดบ้าง ?

ปัญหาผิวที่อาจเจอเมื่อทากันแดดแล้วซับหน้า มีดังนี้

  • ผิวแห้งและขาดความชุ่มชื้น เพราะการซับหน้าจะดึงน้ำมันตามธรรมชาติของผิวออกมามากเกินไป มีผลทำให้ผิวขาดสมดุล แห้งตึง รวมถึงกระตุ้นผิวให้ผลิตน้ำมันเพิ่มขึ้น และเพิ่มโอกาสการเกิดหน้ามันในระยะยาวครับ
  • บริเวณรูขุมขนอุดตัน จากการที่ทากันแดดแล้วซับหน้า เพราะกันแดดที่เหลือบนผิวอาจจับตัวเป็นคราบ เมื่อผสมกับน้ำมันส่วนเกิน เหงื่อ หรือเครื่องสำอาง จึงเพิ่มโอกาสการอุดตันรูขุมขนได้ครับ เสี่ยงเกิดสิวอุดตัน หรือสิวอักเสบ
  • การระคายเคืองผิว แสบผิว เนื่องจากการซับหน้าหลังทาครีมกันแดด อาจทำให้ผิวเสียดสีกับกระดาษทิชชูหรือกระดาษซับมัน โดยเฉพาะผู้ที่มีผิวบอบบางแพ้ง่าย เสี่ยงผิวแดง ผิวลอก หรือเกิดการอักเสบได้หากซับหน้าแรงเกินไป
  • การเกิดปัญหาผิวในระยะยาว เพราะครีมกันแดดทาไปถูกซับออก ทำให้ประสิทธิภาพการปกป้องผิวจากรังสี UV ไม่เพียงพอ เสี่ยงเกิดปัญหาผิวต่าง ๆ เช่น
ทากันแดดแล้วซับหน้า เกิดปัญหาผิว
ทากันแดดแล้วซับหน้า อาจทำให้เกิดปัญหาผิว เพราะถูกรังสี UV ทำร้าย

วิธีทาครีมกันแดดแบบไม่ต้องซับหน้า

หลายคนเจอปัญหาทากันแดดแล้วหน้ามัน จึงต้องหาวิธีซับหน้าหลังลงครีมกันแดดครับ วิธีทาครีมกันแดดที่ถูกต้อง หมอแนะนำดังนี้

  1. เลือกครีมกันแดดที่เหมาะกับสภาพผิว
  2. ทากันแดดเป็นขั้นตอนสุดท้ายหลังทาสกินแคร์เสมอ
  3. บีบครีมกันแดดเต็มนิ้วชี้ ค่อย ๆ เกลี่ยให้ทั่วใบหน้าและลำคอ
  4. รอครีมกันแดดซึมประมาณ 1-3 นาที
  5. บีบครีมกันแดดเต็มนิ้วกลาง ค่อย ๆ เกลี่ยให้ทั่วใบหน้าและลำคออีกรอบ
  6. รอครีมกันแดดซึมประมาณ 1-3 นาที จากนั้นค่อยแต่งหน้า หรือเซ็ตผิวด้วยแป้ง

คลิกอ่านบทความแนะนำเพิ่มเติม


แนวทางเลือกครีมกันแดด แบบที่ทาแล้วไม่ต้องซับหน้า ?

เลือกครีมกันแดดอย่างไร ? โดยไม่ต้องทาครีมกันแดดแล้วซับหน้า มีแนวทางดังนี้ครับ

  • เนื้อสัมผัสกันแดดต้องเหมาะกับผิว
    • ผิวมัน – ใช้ครีมกันแดดเนื้อเจล เนื้อน้ำนม เนื้อฟลูอิด (Fluid) ที่มีความบางเบา แห้งซึมเข้าผิวไว เลี่ยงการใช้กันแดดเนื้อครีมที่มีสัมผัสหนัก
    • ผิวผสม – ใช้ครีมกันแดดได้ทุกเนื้อสัมผัส ไม่ว่าจะเป็นเนื้อครีม เนื้อเจล เนื้อน้ำนม ฯลฯ
    • ผิวแห้ง – ใช้ครีมกันแดดเนื้อครีม เพราะมีส่วนช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวหลังลงกันแดด
    • ผิวบอบบางแพ้ง่าย – ใช้ครีมกันแดดได้ทุกเนื้อสัมผัส แต่ควรเน้นความบางเบา และปราศจากสารก่อระคายเคืองผิว หรือใช้เป็นกันแดดสำหรับคนผิวแพ้ง่าย
  • เนื้อสัมผัสกันแดดบางเบา เกลี่ยง่าย แห้งซึมไว ทาแล้วไม่หนักหน้า
  • ครีมกันแดดมีค่า SPF 30 ขึ้นไป เช่น SPF 30, SPF 40, SPF 50, SPF 50+
  • ครีมกันแดดมีค่า PA 3+ ขึ้นไป (PA+++ และ PA++++)
  • กันแดดปกป้องผิวได้ทุกคลื่นรังสีในแสงแดด
  • มีส่วนผสมช่วยปลอบประโลมผิวขณะออกแดด

ไม่อยากทากันแดดแล้วซับหน้า เพราะกลัวประสิทธิภาพกันแดดลด สามารถนำแนวทางการเลือกครีมกันแดดข้างต้นไปพิจารณาเมื่อเลือกซื้อผลิตภัณฑ์กันแดดได้ครับ

ยูวี เอ-บี-ซี ซันสกรีน ครีม
Dr. V Square UV ABC Sunscreen Cream

กันแดด dr.vsq ไม่ต้องซับหน้า
ส่วนประกอบกันแดดซึมไว dr.vsq

ครีมกันแดดทาหน้า Dr. V Square UV ABC Sunscreen Cream SPF 40 PA+++ ปกป้องผิวจากคลื่นรังสีในแสงแดดได้ครอบคลุม ไม่ว่าจะเป็นรังสี UVA 1, UVA 2, UVB, UVC, Blue light และ Infrared สารกันแดดมีความคงตัวสูง นำเข้าจากประเทศประเทศเยอรมนี ป้องกันการสะท้อน การกระเจิง และการดูดซับได้ครบทุกกระบวนการในเนื้อครีมเดียว

ใครที่มีผิวแพ้ง่ายบอบบางไม่ต้องกังวลครับ เพราะกันแดด Dr. V Square สูตรนี้อ่อนโยน ใช้ได้กับทุกสภาพผิว ปราศจากสารอันตราย ลดโอกาสก่อระคายเคือง พร้อมปลอบประโลมไม่ให้รู้สึกแสบผิว เมื่อต้องทำกิจกรรมกลางแจ้ง เพราะมีสารสกัด Soothing Cooling นำเข้าจากประเทศเกาหลีใต้ ป้องกันการเกิดอาการผิวไหม้แดดระหว่างวันได้ครับ


หน้ามันหลังใช้กันแดด ถ้าไม่ซับหน้า ควรทำอย่างไร ?

หากรู้สึกว่าทาครีมกันแดดแล้วหน้ามัน หมอแนะนำว่าให้ใช้แป้งเซ็ตผิวเพื่อลดความมันครับ

โดยสามารถใช้แป้งชนิดใดก็ได้เพื่อเซ็ตผิว จะลงแป้งด้วยพัฟหรือแปรงปัดแป้งก็ได้เช่นกัน

พร้อมเลี่ยงการใช้กระดาษทิชชู หรือกระดาษซับหน้ามันหลังลงกันแดด เพื่อให้สารกันแดดปกป้องผิวได้เต็มประสิทธิภาพ

คลิกอ่านเพิ่มเติม : ทาครีมกันแดดแล้วทาแป้ง ได้ไหม ? ต้องรอกี่นาที ? อุดตันผิวหรือไม่ ?


สรุปเรื่องทากันแดดแล้วซับหน้า เพื่อลดความมัน

การทากันแดดแล้วซับหน้า ไม่ควรทำครับ เพราะอาจทำให้ครีมกันแดดบนผิวบางส่วนหลุดออก มีผลต่อประสิทธิภาพการปกป้องผิว และเพิ่มโอกาสการเกิดปัญหาผิว หากทากันแดดแล้วหน้ามัน ควรเซ็ตผิวด้วยแป้งหลังลงครีมกันแดด เพื่อช่วยลดความมันแทนการใช้กระดาษทิชชูหรือกระดาษซับมัน

อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่: 21 มีนาคม 2568

Share: