แสงสีฟ้า คืออะไร เกิดขึ้นจากไหน ภัยเงียบที่อันตรายและใกล้ตัวมากกว่าที่คิด

แสงสีฟ้า

แสงสีฟ้า (Blue light) เป็นคลื่นพลังงานที่สามารถทำร้ายผิวเราได้ เหมือนกับรังสียูวีที่พบในแสงแดด และยังเป็นภัยเงียบที่อยู่ใกล้ตัวเราทุกคนมากกว่าที่คิดครับ เพียงแค่เราเปิดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น มือถือ คอมพิวเตอร์ และแท็บเล็ต แสงสีฟ้าจากหน้าจอก็สามารถทำร้ายผิวเราได้แล้วเช่นกัน  

ในบทความนี้หมอจะสรุปให้ได้อ่านกันว่า แสงสีฟ้า คืออะไร พบได้ที่ไหน อันตรายต่อผิวอย่างไรบ้าง พร้อมแนะนำวิธีป้องกันแสงสีฟ้า ในแบบที่ทำตามได้จริง ให้ได้ทราบกันครับ

แสงสีฟ้าอันตรายกว่าที่คิด

คลิกอ่านหัวข้อที่สนใจเกี่ยวกับแสงสีฟ้า


แสงสีฟ้า (Blue Light) คืออะไร ?

แสงสีฟ้า คือ คลื่นพลังงานที่มีคลื่นความยาว 400 – 500 นาโนเมตร สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า โดยลักษณะของแสงสีฟ้าจะประกอบไปด้วย 7 สี คือ สีม่วง สีคราม สีน้ำเงิน สีเขียว สีเหลือง สีแสด สีแดง ซึ่งนับว่าเป็นคลื่นแสงที่มีพลังงานสูง ใกล้เคียงกับรังสีอัลตราไวโอเลต (UV)

การเผชิญกับแสงบลูไลท์โดยตรงในระยะยาว มีโอกาสที่ชั้นผิวและดวงตาของเราจะได้รับอันตรายครับ เช่น ผิวหมองคล้ำ เกิดฝ้า กระ จุดด่างดำ อาการตาล้า จอประสาทตาเสื่อม ฯลฯ


พบเจอแสงสีฟ้า จากไหนได้บ้าง ?

เราสามารถพบเจอแสงสีฟ้าได้ง่ายมาก ตั้งแต่ตื่นนอนยันการเข้านอนเลยครับ มีทั้งแสงสีฟ้าที่เกิดจากธรรมชาติ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โดยเรามักได้รับแสงสีฟ้าจากแหล่งต่าง ๆ ดังนี้

  • แสงสีฟ้าจากแสงแดด
  • แสงสีฟ้าจากหน้าจอคอมพิวเตอร์
  • แสงสีฟ้าจากโทรศัพท์
  • แสงสีฟ้าจากแท็บเล็ต
  • แสงสีฟ้าจากทีวี
  • แสงสีฟ้าจากหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์
  • แสงสีฟ้าจากหลอดไฟ LED

อันตรายจากแสงสีฟ้า มีอะไรบ้าง ?

สาเหตุที่ทำให้แสงสีฟ้าเป็นอันตราย ก็เพราะว่า แสงสีฟ้าสามารถทะลุผ่านวัตถุ รวมถึงอวัยวะต่าง ๆ ได้ครับ โดยอันตรายจากแสงสีฟ้า มีดังนี้

อันตรายจากแสงสีฟ้า
แสงสีฟ้า เป็นอันตรายต่อผิวและดวงตา

นอนหลับยาก หลับไม่สนิท

การเล่นโทรศัพท์ก่อนนอน จะทำให้เรานอนหลับยากขึ้นครับ เพราะแสงสีฟ้าจากจอโทรศัพท์ จะลดการหลั่งเมลาโทนิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยทำให้เรานอนหลับได้ง่ายขึ้น 

จากงานวิจัยพบว่า แสงสีฟ้ายับยั้งการหลั่งเมโลทานินได้นานกว่าแสงสีเขียว ที่เปิดในระดับความสว่างใกล้เคียงกัน และยังส่งผลต่อการเต้นเพิ่มของหัวใจ รวมถึงแสงสีฟ้ายังมีส่วนเปลี่ยนนาฬิกาการใช้ชีวิต (Circadian Rhythm) อีกด้วย เนื่องจากถูกแสงสีฟ้ารบกวนในช่วงกลางคืน ทำให้นอนหลับยาก หลับไม่สนิท เวลาที่ตื่นนอนจึงรู้สึกง่วง ไม่สดชื่นนั่นเองครับ

เกิดปัญหาทางสายตา

ด้วยความที่แสงสีฟ้าสามารถทะลุผ่านอวัยวะได้ ดวงตาของเราที่จ้องมองแสงสีฟ้าบนจอมือถือไม่เว้นแต่ละวัน ก็จะได้รับผลกระทบเช่นกัน โดยอันตรายแสงสีฟ้าที่ส่งผลกระทบกับดวงตา มีดังนี้

แสงสีฟ้าทำให้เกิดปัญหาทางสายตา
  • จอประสาทตาเสื่อม : แสงสีฟ้าจากหน้าจอมือถือ จะกระตุ้นการเกิดอนุมูลอิสระ (Oxidant) สะสมเป็นเซลล์กลุ่มก้อนสีเหลืองไลโปฟัสซิน (Lipofuscin) ที่เป็นสัญลักษณ์ของความชรา ส่งผลให้การมองเห็นแย่ลงครับ เพราะเซลล์รับภาพบนจอประสาทตาถูกทำลาย
  • ตาแห้ง : การใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เราจำเป็นต้องเพ่งสายตาบนหน้าจอตลอดเวลา จึงทำให้การกะพริบตาน้อยลง ซึ่งส่งผลทำให้น้ำตาบริเวณผิวเคลือบดวงตาแห้งลง จนเกิดอาการตาแห้ง เพราะจ้องแสงสีฟ้าบนหน้าจอนานเกินไปครับ
  • ตาล้า : แสงสีฟ้าบนหน้าจอมีคลื่นพลังงานสูง ส่งผลให้เซลล์ดวงตาถูกทำลาย และเมื่อหน้าจอเกิดการกะพริบ เราจำเป็นต้องเพ่งสายตาอย่างหนัก เพื่อปรับภาพให้ถูกโฟกัสมากขึ้น จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการตาล้าครับ

ผิวหน้าหมองคล้ำ หน้าโทรม

แสงสีฟ้าจากหน้าจอคอมหรือโทรศัพท์ มีค่าเข้มข้นของแสงสูงมากครับ เมื่อเผชิญกับแสงสีฟ้าเป็นระยะเวลานาน จะทำให้แสงสีฟ้าเข้าไปทำลายคอลลาเจน (Collagen) และอีลาสติน (Elastin) ในชั้นโครงสร้างผิวของเรา ส่งผลให้ผิวหนังหย่อนคล้อย และเซลล์ผิวเสื่อมสภาพ

ผิวหน้ามันง่ายขึ้น

แสงสีฟ้าบนหน้าจอ ยังมีส่วนช่วยกระตุ้นการผลิตน้ำมัน ที่ต่อมน้ำมันใต้ผิวหนัง ให้ผลิตน้ำมันออกมามากเกินความจำเป็น ทำให้ผิวหน้ามันง่ายขึ้นในระหว่างวัน และยังเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้เกิดสิว รวมถึงยังไปกระตุ้นการเกิดสิวอุดตันบริเวณรูขุมขน ให้กลายเป็นสิวอักเสบได้ด้วยครับ

กระตุ้นการเกิดฝ้า กระ จุดด่างดำ

แสงสีฟ้ามีส่วนช่วยกระตุ้นการผลิตเม็ดสีเมลานิน (Melanin) ใต้ผิวหนัง เมื่อผิวโดนแสงสีฟ้ามากเกินไป เซลล์ผิวที่ผลิตเม็ดสีเมลานิน จะผลิตเม็ดสีออกมาไม่สม่ำเสมอ รวมถึงผลิตออกมามากเกินความจำเป็น จนทำให้เกิดปัญหาผิวอย่างฝ้า กระ จุดด่างดำแบบฝังลึก ตามมาครับ

คลิกอ่านเพิ่มเติม : ฝ้าแดด คืออะไร เกิดจากไหน ? พร้อมวิธีรักษาให้รอยฝ้าลดเลืองลง

แสงสีฟ้า Blue Light ทำลายผิว

แสงสีฟ้า ทำลายผิวอย่างไร ?

ด้วยความที่แสงสีฟ้าสามารถทะลุผ่านวัตถุได้เหมือนกับรังสี UVA จึงทำให้ชั้นผิวของเราถูกแสงสีฟ้าทำลายได้เช่นกันครับ

โดยแสงสีฟ้าจะทะลุลงลึกได้ถึงโครงสร้างชั้นผิว ทำให้คอลลเจนและอีลาสตินถูกทำลายลง ส่งผลให้เกิดปัญหาผิวต่าง ๆ ตามมา เช่น ผิวเสื่อมสภาพ หน้าโทรม หน้าหมองคล้ำ มีริ้วรอยก่อนวัยอันควร หน้าเป็นฝ้า กระ จุดด่างดำ

คลิกอ่านเพิ่มเติม : รังสี UVA และ UVB คืออะไร ? แตกต่างกันอย่างไร ? อันตรายกับผิวมากกว่าที่คิด


วิธีป้องกันแสงสีฟ้า สำหรับผิวและดวงตา

1. ทาครีมกันแดดค่า SPF 15 ขึ้นไป

ผลิตภัณฑ์กันแดดหน้าที่เลือกใช้ ควรมีค่า SPF 15 ขึ้นไป มีค่า PA ระดับสูง นอกจากปกป้องผิวจากรังสี UV ได้แล้ว ยังต้องปกป้องผิวจากแสงสีฟ้าได้ด้วยเช่นกันครับ และควรทากันแดดซ้ำทุก 2 ชั่วโมงเสมอ

ครีมกันแดดผิวหน้า ป้องกันแสงสีฟ้า

DR. V SQUARE UV ABC SUNSCREEN CREAMSPF40 PA+++

DR. V SQUARE Sunscreen Cream

ครีมกันแดดผิวหน้า Dr. V Square UV ABC Sunscreen Cream ปกป้องรังสี UVA UVB แสงสีฟ้า และอินฟราเรด มีค่า SPF40 PA+++ ครีมกันแดดสูตรนี้ใช้ได้กับทุกสภาพผิวครับ เนื้อสัมผัสเกลี่ยง่าย แห้งซึมไว ไม่เหนียวเหนอะหนะ ผลิตภัณฑ์ Dr. V Square พร้อมช่วยบำรุงผิวให้ชุ่มชื้น และปกป้องผิวจากแสงสีฟ้าได้อย่างมั่นใจตลอดวัน

2. ใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวให้แข็งแรง

การใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว ที่มีส่วนผสมจากวิตามิน A และ วิตามิน C จะช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนให้กับผิวเราครับ ส่งผลให้ผิวแลดูกระจ่างใสขึ้น

3. การทำหัตถการ Treatment

การทำหัตถการเพื่อดูแลและบำรุงผิวกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เช่น การผลัดเซลล์ผิวหน้าด้วยกรด เลเซอร์หน้าใส จะช่วยผลัดเซลล์ผิวเก่าได้รวดเร็ว พร้อมทั้งกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน เพื่อลดความหมองคล้ำครับ

4. หยอดน้ำตาเทียม 

หากจ้องหน้าจอมือถือ หรือหน้าจอคอมติดต่อกันเป็นเวลานาน หมอแนะนำว่าควรหยอดน้ำตาเทียมอย่างน้อยทุก 2 ชั่วโมง เพื่อลดอาการตาแห้งที่อาจจะเกิดขึ้น

5. ปรับความสว่างหน้าจอให้เหมาะสม

เราควรปรับความสว่างหน้าจอมคอมพิวเตอร์ หรือหน้าจอมือถือ ให้เหมาะกับการใช้งานครับ ไม่สว่างจ้าหรือมืดจนเกินไป หมอแนะนำว่าให้ตั้งค่าการปรับความสว่างหน้าจอเป็นแบบอัตโนมัติ หรือเปิดใช้งานเป็นโหมดกลางคืน (Night mode) เพื่อลดแสงสีฟ้าบนหน้าจอ

พักสายตาเพื่อหลีกเลี่ยงแสงสีฟ้า

การพักสายตาเป็นช่วง ๆ ช่วยลดอาการตาล้า ตาแห้ง จากแสงสีฟ้า

6. พักสายตาตามหลัก 20/20/20

หลักการ 20/20/20 สำหรับการพักสายตาจากแสงสีฟ้า เพื่อลดอาการตาล้า มีดังนี้

  • 20 ตัวแรก = หยุดพัก 20 นาที
  • 20 ตัวที่สอง = มองสิ่งของรอบตัวที่มีระยะห่าง 20 ฟุต
  • 20 ตัวที่สาม = จ้องมองสิ่งของเป็นเวลา 20 วินาที

7. ติดฟิล์มกรองแสงบนหน้าจอ

การติดตั้งฟิล์มกรองแสงสีฟ้า บนหน้าจอคอมพิวเตอร์และมือถือ จะช่วยลดความรุนแรงของแสงสีฟ้า ที่ตกกระทบมายังดวงตาของเราได้ครับ

8. ใส่แว่นกรองแสง

การใส่แว่นกรองแสง เมื่อต้องนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือเล่นมือถือ เป็นการถนอมสายตาของเรา ไม่ให้ได้รับแสงสีฟ้าที่มีความเข้มข้นสูงจนเกินไป ทั้งยังช่วยลดอาการแสบตา ทำให้มองหน้าจอได้นานขึ้น


สรุปเรื่องแสงสีฟ้า

แสงสีฟ้า เป็นภัยเงียบที่อันตรายกว่าที่เราคิด มีความรุนแรงใกล้เคียงกับรังสี UV ด้วยซ้ำครับ แถมยังพบได้ในทุกวันของการใช้ชีวิต ยิ่งเป็นแสงสีฟ้าจากหน้าจอ นอกจากจะส่งผลกระทบต่อผิวเราแล้ว ยังเป็นอันตรายต่อดวงตา และยังส่งผลต่อการนอนหลับพักผ่อน หากเป็นไปได้หมอขอแนะนำให้เราทากันแดดในช่วงเวลากลางวัน และลดการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ลงในช่วงก่อนนอน ก็จะช่วยลดอันตรายจากแสงสีฟ้า ที่ส่งผลต่อการนอนหลับได้เช่นกันครับ