สิว มีกี่ประเภท เกิดจากอะไร ขึ้นบริเวณไหนบ้าง ? พร้อมวิธีดูแล และรักษา

สิว

สิว ที่ขึ้นบริเวณส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น หน้า คาง หลัง หน้าผาก คอ ฯลฯ ไม่ว่าจะเป็นสิวเม็ดเล็ก ๆ หรือสิวเม็ดใหญ่ ล้วนสร้างความกังวลใจให้เราครับ เพราะบางครั้งสิวธรรมดาที่เกิดขึ้น ก็กลายเป็นสิวอักเสบมีหนองได้ชั่วข้ามคืน

เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจมากขึ้น หมอจะอธิบายประเภทสิวว่ามีกี่แบบ สาเหตุสิวเกิดจากอะไร รักษาสิวด้วยวิธีไหนได้บ้างผ่านบทความนี้ครับ

สิว

คลิกอ่านหัวข้อที่สนใจเกี่ยวกับสิว


ทำความรู้จักสิว สิว คืออะไร ?

สิว (Acne) คือ การที่รูขุมขนและต่อมไขมัน มีภาวะผิดปกติจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น เนื้อเยื่อใต้ผิวหนังอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย การผลิตน้ำมันจากต่อมไขมันเยอะเกินไป การถูกรบกวนจนผนังรูขุมขนอักเสบ สาเหตุเหล่านี้จะทำให้บริเวณรูขุมขนเกิดการอุดตัน และกลายเป็นสิวประเภทต่าง ๆ ขึ้นมาครับ 

ส่วนใหญ่แล้ว สิวจะขึ้นบริเวณผิวหนังที่มีต่อมไขมันมาก เช่น บริเวณใบหน้า หน้าอก คอ หรือหลัง โดยปัญหาสิวขึ้นมักพับในช่วงวัยรุ่น จนถึงวัยผู้ใหญ่อายุ 12-25 ปี ซึ่งสิวสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งกับผู้ชาย และผู้หญิง

สาเหตุสิว

สาเหตุการเกิดสิว มาจากปัจจัยอะไรบ้าง ?

  • เชื้อแบคทีเรีย : P.acnes (พี-แอคเน่) เป็นเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในรูขุมขน เมื่อเป็นสิวจะเกิดไขมันอุดตันมากขึ้น และมีการสะสมของเซลล์ผิวหนัง จึงง่ายต่อการเพิ่มเชื้อแบคทีเรีย ภายในรูขุมขนที่เกิดการอุดตันครับรูขุมขนอุดตัน : การอุดตันของรูขุมขน เกิดจากความผิดปกติของการผลัดเซลล์ผิว รวมถึงเซลล์ผิวหนังกำพร้าชั้นนอกสุดหนาตัวขึ้นมากกว่าปกติ ส่งผลให้รูขุมขนเกิดการอุดตัน และเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดสิวอุดตันเม็ดเล็ก ๆ
  • ต่อมไขมันผิดปกติ : โดยทั่วไปแล้วต่อมไขมันจะผลิตน้ำมันออกมาในปริมาณที่เหมาะสม แต่เมื่อต่อมไขมันผลิตน้ำมันมากเกินไป จะทำให้เกิดการสะสมไขมันที่รูขุมขนเยอะขึ้น ส่งผลให้เกิดการอุดตันได้ในที่สุดครับ
ต่อมไขมันผลิตน้ำมันมากเกินไป
ตัวอย่างภาพต่อมไขมันผลิตน้ำมันมากเกินปกติ
  • กรรมพันธุ์ : หากคนในครอบครัว เช่น พ่อ แม่ เป็นสิวในช่วงวัยรุ่นเยอะ หรือมีผิวมัน ลูก ๆ จะมีโอกาสสิวขึ้นได้มากกว่าสภาพผิวชนิดอื่น ๆ เพราะโดยทั่วไปผู้มีสภาพผิวมัน จะมีรูขุมขนกว้าง หน้ามันเยิ้ม จึงทำให้ง่ายต่อการเกิดสิว
  • ฮอร์โมน : การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนในวัยรุ่น เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดสิวขึ้นครับ โดยเฉพาะฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgen) ในวัยรุ่นเพศชาย จะกระตุ้นให้ต่อมไขมันใหญ่ขึ้น และผลิตไขมันเพิ่มขึ้น เมื่อไขมันผลิตออกมาเยอะ แล้วสัมผัสกับแบคทีเรียหรือสิ่งสกปรก ก็จะทำให้เกิดการอุดตันจนเป็นสิวประเภทต่าง ๆ รวมถึงไปฮอร์โมนเพศหญิงในช่วงมีประจำเดือนด้วยเช่นกันครับ
  • ความเครียด : เมื่อมีอาการเครียดสะสม ร่างกายจะผลิตฮอร์โมน เช่น คอร์ติโซล (Cortisol) ซี่งจะส่งผลต่อการทำงานของต่อมไขมัน ทำให้ผลิตไขมันออกมาจำนวนมากเกินไป ส่งผลให้เวลาเครียดจึงเกิดสิวขึ้นได้ง่ายกว่าปกติ
การนอนพักผ่อนไม่เพียงพอ ส่งผลต่อการเกิดสิว
การนอนพักผ่อนไม่เพียงพอ ส่งผลต่อการเกิดสิว
  • การนอนหลับพักผ่อน : เมื่อนอนหลับไม่เพียงพอ ระบบหมุนเวียนเลือดและน้ำเหลือง จะทำงานได้ไม่เต็มที่ จึงเพิ่มโอกาสการเกิดสิว ได้ง่ายกว่าคนที่นอนหลับพักผ่อนเพียงพอ
  • อาหารการกิน : ในกรณีนี้ยังไม่มีงานวิจัยที่ชัดเจนครับ ว่าอาหารที่มีความมัน หรือน้ำตาลสูง เช่น ช็อกโกแลต ของทอด ของมัน ของหวาน มีส่วนทำให้เกิดสิวขึ้น แต่หากทานไปแล้ว พบว่ามีสิวเม็ดเล็ก ๆ ขึ้น หรือเป็นสิวอักเสบ หมอแนะนำว่าให้หยุดทาน หรือหลีกเลี่ยงไปก่อนจะดีกว่าครับ
  • การใช้ยา : ยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์ จะไปกระตุ้นการทำงานระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย เมื่อแบคทีเรียหรือเชื้อราเข้าสู่ร่างกาย ภูมิคุ้มกันจะตอบสนองอย่างรวดเร็ว ทำให้รูขุมขนเกิดการอักเสบ จนเป็นสิวขึ้นมาได้

ประเภทสิว มีทั้งหมดกี่แบบ ?

สิวไม่อักเสบ 

สิวไม่อักเสบ คือ สิวที่เกิดการอุดตันบริเวณรุขุมขน แต่ไม่มีอาการอักเสบร่วมด้วยครับ โดยสิวชนิดไม่อักเสบ มีหลายแบบด้วยกัน ดังนี้

  • สิวผด
สิวผด
สิวผด

สิวผด เป็นผดประเภทหนึ่ง มีลักษณะเป็นผดผื่นเม็ดเล็ก ๆ ไม่มีหัว บีบไม่ได้ ผิวสัมผัสสากเหมือนกับเม็ดทราย โดยส่วนใหญ่สิวผดเกิดจากสภาพอากาศร้อน การแพ้ระคายเคืองผิวหนัง การแพ้เหงื่อ มักจะเกิดสิวผดขึ้นที่บริเวณหน้าผาก ขมับ แก้ม คาง บางคนอาจจะมีอาการคันร่วมด้วย สิวผดสามารถเห่อขึ้นในช่วงที่อากาศร้อน และหายเองได้ในช่วงเย็น

  • สิวอุดตัน
สิวอุดตัน
สิวอุดตัน

สิวอุดตัน เป็นสิวหัวปิดที่ไม่มีการอักเสบ เกิดจากการอุดตันของไขมัน และสิ่งตกค้างภายในรูขุมขน มีลักษณะเป็นตุ่มนูน เป็นก้อนแข็ง เป็นไต และอาจมีสิวเสี้ยนเม็ดเล็ก ๆ อุดตัน หากสังเกตจะเห็นหัวสิวได้ชัดเจน ทำให้หน้าไม่เรียบเนียน มักพับสิวอุดตันได้บ่อยที่บริเวณหน้าผาก จมูก แก้ คาง รวมถึงแผ่นหลัง

  • สิวหัวดำ
สิวหัวดำ
สิวหัวดำ

สิวหัวดำ เป็นสิวหัวเปิด ทำให้มองเห็นหัวสิวสีดำได้ชัดเจน เกิดจากการสะสมของเซลล์ผิวหนังชั้นนอกที่ตายไปแล้ว เช่น ไขมัน (Sebum) เนื้อเยื่อ ขน แบคทีเรีย เกิดการอุดตันภายในรูขุมขน เมื่อหัวสิวเปิดตัวไขมันจะทำปฏิกิริยาออกซิเดชั่น (Oxidation) กับ ออกซิเจน ทำให้หัวสิวกลายเป็นสีดำ 

โดยรูปร่างสิวจะมีลักษณะเป็นตุ่มนูนขนาดเล็ก มีหัวสีดำขนาด 0.1-3 mm. อยู่ตรงกลาง หัวสีดำจะเป็นก้อนแข็ง เป็นไต กดแล้วไม่ยุบ สัมผัสโดนแล้วไม่เจ็บ เพราะไม่มีเชื้อแบคทีเรียอยู่ในหัวสิว จึงไม่เกิดการอักเสบครับ

  • สิวหัวขาว
สิวหัวขาว
สิวหัวขาว

สิวหัวขาว เป็นสิวอุดตันคล้ายกับสิวหัวดำ มีลักษณะเป็นหัวสิวสีขาวแข็ง ๆ เกิดจากการสะสมของเซลล์ผิวหนังที่ตายไปแล้ว ไขมัน และแบคทีเรีย อุดตันภายในรูขุมขน โดยรูขุมขนไม่ได้สัมผัสกับอากาศโดยตรง จึงไม่ทำให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น (Oxidation) กับ ออกซิเจน แต่หากปล่อยเอานานเกินไปไม่รีบรักษา สิวหัวขาวสามารถพัฒนากลายเป็นสิวอักเสบได้ครับ

  • สิวเสี้ยน
สิวเสี้ยน
สิวเสี้ยน

สิวเสี้ยน มีลักษณะใกล้เคียงกับสิวอุดตัน แต่ความจริงแล้วสิวเสี้ยนไม่ใช่สิว แต่เป็นรากขนและขนที่อุดตันอยู่ภายในรูขุมขนของเราครับ มีทั้งเส้นขนสีดำและสีขาว กระจุกตัวอยู่ในรูขุมขนประมาณ 5-25 เส้น/รู

ซึ่งโดยทั่วไป 1 รูขุมขน จะมีประมาณ 1-4 เส้นเท่านั้น เมื่อมองใกล้ ๆ จะเห็นเหมือนกับปลายเสี้ยนแหลม ๆ ยื่นออกมา คนจึงเรียกกันว่าสิวเสี้ยนครับ มักพบได้บ่อยที่บริเวณปลายจมูก หน้าผาก ข้างแก้ม และคาง

  • สิวเม็ดข้าวสาร
สิวเม็ดข้าวสาร
สิวเม็ดข้าวสาร

สิวเม็ดข้าวสาร ไม่ใช่สิวหิน โดยสิวข้าวสารเกิดจากการอุดตันของเซลล์ผิวหนังที่เสื่อมสภาพ เป็นความผิดปกติของผิวหนัง ที่แสดงอาการใกล้เคียงกับเม็ดสิว

สิวข้าวสารถูกจัดอยู่ในกลุ่มซีสต์ไขมันใต้ผิวหนัง (Subaceous Cyst) มีลักษณะเป็นตุ่มเล็ก ๆ นูน ๆ มีสีขาวคล้ายไข่มุกหรือข้าวสาร บางคนอาจจะมีอาการคันร่วมด้วย มักพบสิวเม็ดข้าวสารที่บริเวณใกล้เปลือกตา จมูก คาง รวมถึงแก้มครับ

  • สิวหิน
สิวหิน
สิวหิน

สิวหิน ไม่ใช่สิวครับ แต่เป็นเนื้องอกที่มาจากต่อมท่อเหงื่อ ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย สิวหินเกิดจากการที่ต่อมเหงื่อเจริญเติบโตผิดปกติ รูปร่างสิวหินจะมีลักษณะเป็นตุ่มสีขาวขุ่น หรือมีสีเหลือง คล้ายกับการเกิดสิวผด และจะไม่มีอาการคันหรือเจ็บร่วมด้วย โดยสิวหินสามารถหายเองได้ตามธรรมชาติ แต่จะใช้เวลานานถึงหลัก 10 ปี

สิวอักเสบ

สิวอักเสบ มีหลายระดับความรุนแรง มีตั้งแต่สิวเม็ดเล็ก ไปจนถึงสิวเม็ดใหญ่ เช่น สิวซีสต์ สิวหัวหนอง สิวหัวช้าง สิวอักเสบเกิดจากแบคทีเรียที่ชื่อว่า P.acnes (พี-แอคเน่) ที่เติบโตอยู่ในตุ่มสิว

ซึ่ง P.acnes สามารถดึงเม็ดเลือดขาวเข้ามาอยู่ในตุ่มสิวได้ ทำให้เกิดการกระตุ้นจนตุ่มสิวอักเสบใต้ผิวหนัง และยังมีเอนไซม์ช่วยย่อยน้ำมันในตุ่มสิว ให้กลายเป็นกรดไขมัน ที่มีฤทธิ์กระตุ้นจนทำให้เกิดสิวอักเสบ

สิวอักเสบ
สิวอักเสบ

โดยสิวอักเสบที่พบเห็นได้บ่อย มีหลายแบบด้วยกัน ดังนี้

  • สิวฮอร์โมน
สิวฮอร์โมน
สิวฮอร์โมน

สิวฮอร์โมน เกิดขึ้นเมื่อฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุล ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงวัยไหน เพศไหน ก็เป็นสิวฮอร์โมนได้ครับ ส่วนใหญ่จะพบสิวฮอร์โมนได้มากในช่วงวัยรุ่นโดยเฉพาะเพศชาย

เพราะร่างกายจะผลิตฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgens) และ เทสโทสเตอโรน (Testosterone) เพิ่มมากขึ้น ทำให้ฮอร์โมนไปกระตุ้นการทำงานที่ต่อมไขมัน ให้ผลิตไขมันส่วนเกินออกมา จนเกิดการอุดตันที่รูขุมขน และกลายเป็นสิวครับ

  • สิวไม่มีหัว
สิวไม่มีหัว
สิวไม่มีหัว

สิวไม่มีหัว เป็นสิวตุ่มลึกที่อยู่ใต้ผิวหนัง เกิดจากการอุดตันภายในรูขุมขน สิวไม่มีหัว จะไม่แสดงหัวสิวสีขาวหรือสีดำ รูปร่างของสิวจะมีลักษณะเป็นตุ่มนูน ๆ เป็นรอยแดง มีทั้งสิวเม็ดเล็กและใหญ่

โดยทั่วไปแล้วสิวไม่มีหัวจะไม่มีหนอง หากไม่เกิดการอักเสบที่มาจากการติดเชื้อแบคทีเรีย P.acnes  แต่หากเกิดการติดเชื้อ สิวไม่มีหัวจะกลายเป็นสิวอักเสบได้ครับ

  • สิวสเตียรอยด์
สิวสเตียรอยด์
สิวสเตียรอยด์

สิวสเตียรอยด์ ไม่ใช่สิว แต่เป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากการแพ้สารสเตียรอยด์ หรือใช้สเตียรอยด์ติดต่อกันเป็นเวลานานเกินไป จนทำให้ร่างกายเกิดการต่อต้าน และเกิดการอักเสบภายในรูขุมขน

ลักษณะของสิวแพ้ครีมสเตียรอยด์จะเป็นตุ่มนูน มีหนองหรือมีน้ำอยู่ด้านใน โดยสิวมักขึ้นบริเวณผิวที่ใช้สารสเตียรอยด์ สามารถขึ้นได้ทีละหลายเม็ดพร้อมกัน


สิว เกิดขึ้นบริเวณไหนได้บ้าง ?

สิวที่คาง

สิวที่คาง
สิวที่คาง

สิวขึ้นคาง เป็นจุดที่สิวขึ้นได้บ่อย เพราะบริเวณคางเป็นจุดที่ต่อมไขมัน ผลิตน้ำมันออกมามาก แถมยังเป็นบริเวณที่มือของเรายังไปสัมผัสโดนบ่อยแบบที่ไม่รู้ตัว เช่น การเกาคาง การเท้าคาง การแพ้หน้ากากอนามัย ฯลฯ เมื่อผิวหนังบริเวณคางมีความมัน และสัมผัสโดนสิ่งสกปรก จึงทำให้มีโอกาสเป็นสิวที่คางได้ง่ายครับ

สิวที่หน้าผาก

สิวที่หน้าผาก
สิวที่หน้าผาก

สิวขึ้นหน้าผาก เป็นจุดที่พบได้บ่อย เพราะเป็นบริเวณที่เหงื่อออกเยอะ และมีการผลิตน้ำมันจากต่อมไขมันเป็นจำนวนมาก ทำให้มีความมันมากกว่าผิวบริเวณอื่น ๆ ยิ่งบางคนมีไรผม หรือผมหน้าม้า ก็ยิ่งเพิ่มโอกาสในการเกิดสิวที่หน้าผาก

เนื่องจากมีฝุ่น ควัน มลภาวะขนาดเล็ก เกาะติดบริเวณเส้นผม เมื่อเส้นผมสัมผัสกับบริเวณผิวมันบนหน้าผาก จึงทำให้เกิดสิวผดที่หน้าผาก หรือสิวอักเสบขึ้นได้ครับ

สิวที่หลัง

สิวที่หลัง

สิวที่หลัง เกิดขึ้นเพราะผิวบริเวณแผ่นหลัง เป็นจุดที่ยากต่อการดูแล เนื่องจากมีเหงื่อออกง่าย อับชื้น และอยู่ใต้ร่มผ้า การที่สิวขึ้นหลัง ไม่ได้เกิดจากการดูแลความสะอาดร่างกายไม่ดีเสมอไปครับ เพราะการเป็นสิวที่หลังยังเกิดได้จากฮอร์โมน และกรรมพันธุ์ สิวที่หลังจะขึ้นมาก-น้อย ก็ขึ้นอยู่กับร่างกายของแต่ละคนครับ

สิวที่ก้น

สิวที่หลัง
สิวที่ก้น

สิวที่ก้น สามารถเกิดขึ้นได้เหมือนกับการเป็นสิวที่บริเวณอื่น ๆ ครับ สิวที่ก้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ขนคุดใต้ผิวหนัง การเสียดสีของผิว รวมถึงการใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่มีสารเคมีรุนแรงเกินไป

สิวที่คอ

สิวที่คอ
สิวที่คอ

สิวที่คอ ส่วนใหญ่เกิดจากการมีสิ่งสกปรกเกาะบนเส้นผม รวมถึงการใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลผมที่มีการระคายเคือง เช่น ซิลิโคน เมื่อเส้นผมสัมผัสผิวบริเวณคอ จึงทำให้เกิดสิวผดขึ้นได้ นอกจากนี้การที่สิวขึ้นคอยังเกิดได้จากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน หรือการเสียดสีผิวหนังกับเสื้อผ้าที่สวมใส่

สิวที่จมูก

สิวที่จมูก
สิวที่จมูก

สิวขึ้นจมูก เกิดขึ้นได้บ่อยในบริเวณ T-zone ซึ่งสิวที่ขึ้นจมูกมักจะเป็นสิวเสี้ยน สิวอุดตัน และสิวอักเสบ โดยการที่สิวขึ้นจมูกมักเกิดจากความมันบนใบหน้า มีสิ่งอุดตันฝังอยู่ในรูขุมขน รวมถึงความเครียดที่ไปกระตุ้นฮอร์โมนในร่างกาย คนที่มีผิวหน้ามัน ผิวผสม และรูขุมขนกว้าง มีโอกาสที่จะเกิดสิวขึ้นจมูกได้ง่ายกว่าคนที่ผิวแห้ง

สิวขึ้นแก้ม

สิวขึ้นแก้ม
สิวขึ้นแก้ม

สิวขึ้นแก้ม เป็นบริเวณที่มักเกิดสิวอักเสบรุนแรง หรือสิวผด เนื่องจากบริเวณแก้มเป็นจุดที่เราสัมผัสกับสิ่งต่าง ๆ ตลอดทั้งวัน เช่น ปลอกหมอน เส้นผม หน้ากากอนามัย ฯลฯ ยิ่งใครที่มีผิวบอบบางแพ้ง่าย ก็มีโอกาสเกิดสิวที่แก้มได้ง่ายกว่าครับ 

สิวขึ้นกรอบหน้า

สิวขึ้นกรอบหน้า
สิวขึ้นกรอบหน้า

สิวขึ้นกรอบหน้า เป็นอีกจุดที่พบสิวเกิดขึ้นได้บ่อย มีสาเหตุมาจากการใส่หน้ากากอนามัย จนกลายเป็นสิวแพ้แมส การแพ้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดหน้า การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน รวมไปถึงการสัมผัสผิวหน้าโดยตรงในขณะที่มือไม่สะอาด

สิวที่น้องสาว

สิวที่น้องสาว
สิวที่น้องสาว

การเป็นสิวที่น้องสาว จำเป็นต้องสังเกตลักษณะของหัวสิวให้ดี เพราะบางครั้งอาจเป็นสัญญาณของการเกิดโรคได้ครับ โดยส่วนใหญ่แล้วสิวที่อวัยวะเพศหญิง มักจะเกิดจากการแพ้ผ้าอนามัย การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนช่วงมีประจำเดือน 

หากสิวที่น้องสาวมีลักษณะเป็นตุ่มบวมนูน เป็นถุงน้ำ มีหนอง อาจจะเกิดจากการที่ต่อมบาร์โธลินอักเสบ หากหัวสิวเป็นก้อนนิ่ม ๆ มีกลิ่นเหม็น มีหนอง มีความเป็นไปได้ว่า สิวที่เกิดขึ้นอาจจะมาจากการติดเชื้อครับ หากมีลักษณะหัวสิวดังกล่าว หมอแนะนำว่าให้พบแพทย์เพื่อรับการรักษาครับ

สิวที่หัว

สิวที่หัว
สิวที่หัว

สิวที่หัว มีสาเหตุการเกิดไม่ต่างจากการเป็นสิวที่บริเวณอื่น ๆ การที่สิวขึ้นหัวมักเกิดจากการใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมที่ระคายเคืองหนังศีรษะ การผลิตน้ำมันจากต่อมไขมันที่เยอะเกินไป รวมถึงการดูแลความสะอาดเส้นผมไม่ดี ซึ่งจะเพิ่มโอกาสการเกิดสิวที่หัวได้ครับ

สิวที่ปาก

สิวที่ปาก
สิวที่ปาก

สิวที่ปาก มักเกิดขึ้นบริเวณรอบขอบปาก ส่วนใหญ่การที่สิวขึ้นปาก มักเกิดจากการดูแลความสะอาดไม่ดี เช่น ไม่ได้เช็ดทำความสะอาดปาก รวมถึงการแพ้ยาสีฟัน ลิปสติก และการใส่หน้ากากอนามัย สำหรับผู้หญิงปากเป็นสิว มีความเป็นไปได้ ว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนในช่วงมีประจำเดือน

สิวที่หู

สิวที่หู
สิวที่หู

สิวที่หู เกิดขึ้นได้ที่บริเวณใบหู ในหู และหูชั้นนอก โดยมาจากการผลัดเซลล์ผิวหนัง ความมัน หรือเหงื่ออุดตันภายในรูขุมขน เมื่อสัมผัสโดนสิวที่หูจะรู้สึกเจ็บได้ง่าย

ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เป็นสิวที่หูมักเกิดจาก การมีแบคเทีเรียสะสม ความเครียด การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน รวมถึงแพ้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเส้นผมครับ


วิธีรักษาสิว ตามระดับความรุนแรง

วิธีรักษาสิวด้วยการทายาลดสิว
การรักษาสิวด้วยการทายาแต้มสิวเฉพาะจุด

การรักษาสิวระดับรุนแรงน้อย

สิวระดับรุนแรงน้อย คือ การเป็นสิวผด สิวอุดตัน หรือสิวอักเสบจำนวนน้อย ไม่เกิน 10 จุด

ซึ่งเป็นสิวที่สามารถรักษาให้หายได้ด้วยตัวเองครับ ผ่านการทำความสะอาดผิวหน้า ใช้สกินแคร์แก้ปัญหาสิว หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีสารกระตุ้นทำให้เกิดสิว รวมถึงการทายารักษาสิวกลุ่ม Benzoyl Peroxide หรือ กลุ่ม Retinoid 

การรักษาสิวระดับรุนแรงปานกลาง

สิวระดับปานกลาง คือ การเป็นสิวที่มีลักษณะเป็นตุ่มบวมแดง มีหนอง เกินกว่า 10 จุด แต่ยังไม่แพร่กระจายทั่วทั้งบริเวณ

การรักษาสิวความรุนแรงระดับนี้ ต้องได้รับการรักษาโดยแพทย์ผิวหนัง เพื่อหาวิธีรักษาสิวให้เหมาะกับอาการครับ โดยมักจะเป็นการทายารักษาสิว และทานยาปฏิชีวนะควบคู่กันไป 

การรักษาสิวระดับรุนแรงมาก

สิวระดับรุนแรงมาก คือ การเป็นสิวที่ลักษณะเป็นตุ่มหนอง บวมแดง มีรอยนูนขนาดใหญ่ กระจายตัวเป็นวงกว้างจำนวนมาก

การรักษาสิวระดับความรุนแรงมาก ต้องรักษาโดยแพทย์ผิวหนังเท่านั้น มักจะรักษาสิวด้วยการทายาลดสิวเฉพาะที่ ร่วมกับการทานยาปฏิชีวนะ หรือกลุ่มอนุพันธ์วิตามินเอชนิดรับประทาน

วิธีดูแลตัวเองเมื่อเป็นสิว
วิธีดูแลตัวเองเมื่อเป็นสิว

เป็นสิว มีสิวขึ้น ดูแลตัวอย่างไรดี ?

  • ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอในแต่ละวัน (ขึ้นอยู่กับเพศ และน้ำหนักตัว)
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 6-8 ชั่วโมง
  • ออกกำลังกาย หรือหากิจกรรมทำ เพื่อลดความเครียดสะสม
  • ทำความสะอาดผิวหน้าอย่างถูกวิธี วันละ 2 ครั้ง ตอนเช้า และ ตอนเย็น
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสบริเวณที่เป็นสิว ไม่แกะ แคะ บีบสิว
  • หลีกเลี่ยงการทานอาหาร ที่มีส่วนกระตุ้นการเกิดสิว ส่วนนี้เราต้องหมั่นสังเกตตัวเองครับ เพราะปัจจุบันยังไม่มีงานวิจัยที่ชัดเจน
  • ทายารักษาสิว ทานยาลดสิว ตามที่แพทย์ผิวหนังจ่ายยาให้อย่างเคร่งครัด
  • ไม่ซื้อยารักษาสิว ยาคุมกำเนิด ยาปรับฮอร์โมน หรือยาสเตียรอยด์ มารับประทานเองอย่างเด็ดขาด

วิธีป้องกันสิว ต้องทำอย่างไร ?

1. หมั่นดูรักษาความสะอาดอยู่เสมอ

เราควรรักษาความสะอาดบริเวณผิวที่เกิดสิว ไม่ให้เกิดการหมักหมมของเหงื่อ สิ่งสกปรก หรือความมัน รวมถึงหมั่นดูแลสภาพแวดล้อมให้สะอาด

เช่น ทำความสะอาดชุดผ้าปูที่นอน เสื้อผ้า เพื่อป้องกันผิวสัมผัสกับไรฝุ่น หรือฝุ่นละออง จนเกิดเป็นสิวผดหรือสิวประเภทต่าง ๆ

2. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

การนอนพักผ่อนอย่างน้อยวันละ 6-8 ชั่วโมง นอกจากช่วยให้ร่างกายไม่อ่อนเพลียแล้ว ยังช่วยให้ร่างกายได้ฟื้นฟูและซ่อมแซมตัวเอง ลดการผลิตน้ำมันจากต่อมไขมันที่มากเกินปกติ โดยจะช่วยลดโอกาสการเกิดสิวเมื่อมีผิวหน้ามันได้ครับ

ออกกำลังกาย ลดความเครียดสะสม ลดสิว

3. ออกกำลังกาย หรือหากิจกรรมทำ เพื่อลดความเครียด

การออกกำลังกาย ช่วยลดความตึงเครียดลงได้ ซึ่งความเครียดสะสม จะส่งผลต่อฮอร์โมนในร่างกาย ทำให้ไปกระตุ้นต่อมผลิตไขมันให้ผลิตน้ำมันมากขึ้น คนที่เครียดบ่อย เครียดง่าย มีโอกาสที่จะเกิดสิวได้ง่ายกว่าครับ หากใครที่ไม่ชอบการออกกำลังกายสักเท่าไหร่ การหางานอดิเรกที่ชอบทำเพื่อลดเครียด ก็ช่วยได้เช่นกัน

4. หลีกเลี่ยงอาหารกระตุ้นการอักเสบสิว

แม้ว่าจะไม่มีงานวิจัยที่ระบุเอาไว้ ว่าการทานอาหารมัน ของทอด หรือของหวาน จะทำให้ผิวเกิดสิว แต่คนบางกลุ่มก็เป็นสิวหลังจากที่ทานช็อกโกแลตครับ

ฉะนั้นเราต้องสังเกตร่างกายของเราให้ดี ว่าทานอะไรแล้วส่งผลต่อการเกิดปัญหาสิวบ้าง หากพบว่าเป็นสิวหลังทานอาหารเหล่านั้น หมอแนะนำว่าให้หลีกเลี่ยงการทานในครั้งต่อไปครับ

ทาครีมกันแดด เพื่อลดการเกิดสิว จากการถูกแดดทำร้าย

5. ปกป้องผิวหน้า ผิวกาย จากแสงแดด

แสงแดดที่เราเจอระหว่างวัน จะไปกระตุ้นการผลิตน้ำมันที่ต่อมไขมัน ทำให้ผิวหน้าเกิดความมันง่ายกว่าปกติ

เมื่อผิวหน้ามันก็เพิ่มโอกาสในการเกิดสิว นี่จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เราต้องทาครีมกันแดดหน้าและครีมกันแดดตัว ก่อนออกไปทำกิจกรรมข้างนอกครับ นอกจากนี้การทาครีมกันแดดเป็นประจำ ยังช่วยปกป้องผิวจากรอยคล้ำ ริ้วรอย ฝ้าแดด กระแดด ได้อีกเช่นกัน

6. เลือกผลิตภัณฑ์ดูแลผิวอย่างเหมาะสม

ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ดูแลผิวให้เลือกหลากหลาย มีคุณสมบัติการดูแลแตกต่างกัน ซึ่งเราต้องเลือกให้เหมาะกับปัญหาสิว และสภาพผิวของเราครับ เช่น คนเป็นสิวผิวแพ้ง่าย ควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีความอ่อนโยน เพื่อลดอาการแพ้ และอาการอุดตันจากสิว

ขั้นตอนการดูแลผิวหน้า เพื่อลดสิว ลดการอุดตัน 

ขั้นตอนที่ 1 : ทำความสะอาดผิวหน้าให้สะอาด 

ในระหว่างวันผิวหน้าของเราเผชิญทั้งแสงแดด ฝุ่น ควัน รวมถึงมลภาวะต่าง ๆ เยอะมากครับ หากเราไม่ทำความสะอาดผิวหน้าให้สะอาด สิ่งปนเปื้อนบนผิวอาจจะตกค้างอยู่ในรูขุมขนเราได้ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาสิวตามมาครับ 

Dr. V Square Soft Cleansing Mousse ล้างหน้าป้องกันสิว

ผลิตภัณฑ์ Dr. V Square Soft Cleansing Mousse มูสโฟมล้างหน้า ฟองเนียนนุ่ม เนื้อละเอียด จากน้ำผลไม้ Japanese Plum Juice ที่ช่วยทำความสะอาดผิวหน้าได้อย่างอ่อนโยน พร้อมคืนความชุ่มชื้นให้กับผิว วิธีใช้ คือ ปั๊มมูสโฟมลงบนฝ่ามือ แล้วนวดวนทำความสะอาด ให้ทั่วใบหน้าจนเกิดฟอง จากนั้นล้างออกด้วยน้ำสะอาด

ขั้นตอนที่ 2 : บำรุงผิวหน้าให้ชุ่มชื้นด้วยสกินแคร์

การใช้สกินแคร์บำรุงผิวหน้า จะช่วยให้ผิวของเราแข็งแรงขึ้น ลดการเกิดสิว รวมถึงริ้วรอยก่อนวัยอันควร ตัวสกินแคร์ที่ใช้ควรมีคุณสมบัติช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น ปลอบประโลมผิว และปรับผิวให้กระจ่างใสครับ ผลิตภัณฑ์ที่หมอแนะนำมีด้วยกัน 2 ตัวครับ

1. Dr. V Square Melaris Serum 

Dr. V Square Melaris Serum ลดการเกิดฝ้า

Dr. V Square Melaris Serum เซรั่มบำรุงผิวเนื้ออิมัลชั่นที่ผสาน Whitening Active เช่น Niacinamice, Arbutin, วิตามินซี 3 อนุพันธ์ ฯลฯ มีคุณสมบัติช่วยลดฝ้า กระ จุดด่างดำ ให้แลดูจางลง โดยที่ไม่ทำให้ผิวบาง สกินแคร์ Dr. V Square พร้อมเผยผิวให้กระจ่างใส ฉ่ำวาวอย่างเป็นธรรมชาติ สามารถทาบาง ๆ ได้ทั่วใบหน้า ทั้งตอนเช้าและตอนเย็น

2. Dr. V Square Hya-Boost Cream

Dr. V Square Hya-Boost Cream เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิว

Dr. V Square Hya-Boost Cream ผลิตภัณฑ์เพิ่มความชุ่มชื้นที่มีส่วนผสม Sodium Hyaluronate จากอนุพันธ์ที่พัฒนามาจาก Hyaluronic Acid มีส่วนช่วยฟื้นฟูผิวให้ชุ่มชื้น เสริมความแข็งแรงให้ผิว

พร้อมปลอบประโลมผิวหลังเจอแดดและมลภาวะ ให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง เมื่อผิวมีเกราะป้องกันที่แข็งแรง จะช่วยลดโอกาสจากการเกิดสิวได้ โดยผลิตภัณฑ์ตัวนี้สามารถทาบาง ๆ ให้ทั่วใบหน้า ได้ทั้งตอนและตอนเย็น

ขั้นตอนที่ 3 : ทาครีมกันแดดปกป้องผิวอย่างสม่ำเสมอ

การทาครีมกันแดดจะช่วยลดปัจจัยการเกิดสิวครับ เพราะรังสี UV จะกระตุ้นต่อมไขมันให้ผลิตน้ำมันเพิ่มขึ้น โดยมีงานวิจัยจากเว็บไซต์ Wiley Online Library ยืนยันว่า เมื่ออุณหภูมิความร้อนสูงขึ้น 1% จะส่งผลผิวผลิตน้ำมันเพิ่มขึ้นมากถึง 10%

Dr. V Square UV ABC Sunscreen Cream กันแดดไม่เกิดสิว

ผลิตภัณฑ์กันแดดที่หมอแนะนำ คือ Dr. V Square UV ABC Sunscreen Cream ครีมกันแดด Hybrid มาตรฐานเยอรมัน มีส่วนช่วยปกป้องผิวจากรังสี UVA, UVB, แสงสีฟ้า และ Infrared เหมาะสำหรับทุกสภาพผิว ผิวบอบบางแพ้ง่ายใช้ได้ครับ เนื้อครีมสัมผัสบางเบา ไม่เหนียวเหนอะหนะ ไม่ทิ้งคราบ และยังช่วยให้ผิวชุ่มชื้นด้วยครับ

คลิกอ่านเพิ่มเติม : วิธีทากันแดดที่ถูกต้อง สำหรับผิวหน้า – ผิวกาย ให้ผิวสวยห่างไกลจากแสงแดด


เป็นสิว กี่วันหาย ?

การที่สิวจะหายกี่วัน จะขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรง รวมถึงวิธีการรักษาครับ เช่น หากเป็นสิวอักเสบ ระยะเวลาที่จะหายเองแบบธรรมชาติ จะอยู่ที่ประมาณ 6-8 สัปดาห์ หรือหากเป็นสิวหัวช้าง จะหายเองตามธรรมชาติประมาณ 12 สัปดาห์ ยิ่งรักษาสิวโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และดูแลตัวเองดี สิวก็จะหายไวขึ้นครับ

เป็นสิว กี่วันหาย
สิวจะหายกี่วัน ? ขึ้นอยู่กับการดูแลตัวเอง และวิธีการรักษา

สิวขึ้นหน้า รักษาด้วยยา ได้หรือไม่ ?

เมื่อหน้าเป็นสิว สามารถรักษาด้วยการทายาเฉพาะที่ หรือทานยาได้ครับ

  • รักษาด้วยการทายาเฉพาะที่ : เหมาะกับผู้มีปัญหาสิวไม่รุนแรง เช่น สิวไม่มีหัว สิวผด สามารถรักษาด้วยการทายาอย่างเดียวได้ครับ โดยทายาทิ้งไว้ตามระยะที่แพทย์แนะนำ 5-10 นาที โดยทำติดต่อกันต่อเนื่อง 6-8 สัปดาห์
  • รักษาด้วยการทานยา : เหมาะกับผู้มีปัญหาสิวอักเสบระดับปานกลาง-รุนแรง ที่ไม่สามารถรักษาด้วยการทายาเฉพาะที่เพียงอย่างเดียวได้ การรักษาสิวขึ้นหน้าด้วยการทานยา ไม่ควรซื้อยามาทานเองอย่างเด็ดขาดครับ ต้องให้แพทย์เป็นผู้จ่ายยารักษาสิวให้เท่านั้น

สรุปเรื่องสิว

สิว เกิดขึ้นได้กับคนทุกคน โดยมาจากปัจจัยต่าง ๆ ที่ควบคุมได้ และควบคุมไม่ได้ เมื่อเป็นสิวแล้ว เราสามารถรักษาสิวให้หายได้ครับ เพียงแต่การรักษาสิวต้องใช้ระยะเวลา และควรปรึกษาแพทย์ผิวหนังโดยตรง เพื่อเข้ารับการรักษาสิวอย่างถูกต้อง

นอกจากนี้ยังต้องดูแลตัวเองให้ดี ทั้งในเรื่องของอาหารการกิน การใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด และสกินแคร์ที่เหมาะสมกับปัญหาผิว ก็จะช่วยป้องกันและลดโอกาสในการเกิดสิวได้ครับ