ฝ้าแดด
ปัญหา ฝ้าแดด สร้างความหนักใจให้กับผู้หญิง และผู้ชายไทยเป็นอย่างมากครับ เพราะแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย ที่จะหลีกเลี่ยงการไม่เจอแสงแดดในระหว่างวัน รังสี UVA จากแสงแดด จึงเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้หน้าเป็นฝ้าแดด ส่งผลให้ผิวหน้าไม่กระจ่างใส ผิวถูกทำลาย ผิวหมองคล้ำ
ในบทความนี้หมอจะสรุปให้ได้อ่านกันว่า ฝ้าแดด คืออะไร ลักษณะของฝ้าแดดเป็นแบบไหน เกิดจากอะไร มีวิธีรักษาฝ้าแดดอย่างไรบ้าง ติดตามกันได้ผ่านบทความนี้ครับ
คลิกอ่านหัวข้อที่สนใจเกี่ยวกับฝ้าแดด
ฝ้าแดด คืออะไร ?
ฝ้าแดด คือ ฝ้าประเภทหนึ่งที่มีสาเหตุหลักมาจากแสงแดด รังสี UV รวมถึงแสง HEVIS (High Energy Visible Light) ซึ่งเป็นแสงที่เกิดจากหลอดไฟ แสงจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ แสงจากโทรศัพท์
โดยแสงเหล่านี้จะกระตุ้นการผลิตเม็ดสีเมลานินในเซลล์ใต้ผิวหนัง ให้ผลิตเม็ดสีออกมามากกว่าปกติ ทำให้สีผิวดูเข้ม และกลายเป็นฝ้าแดดที่บริเวณต่าง ๆ เช่น
- ฝ้าแดดที่หน้า
- ฝ้าแดดที่แขน
- ฝ้าแดดที่โหนกแก้ม
- ฝ้าแดดที่หน้าผาก
- ฝ้าแดดที่คาง
- ฝ้าแดดที่บริเวณเหนือริมฝีปาก
ฝ้าแดด เกิดจากอะไร ?
สาเหตุหลักของการเกิดฝ้าแดด มักมาจากรังสีอัลตราไวโอเลตในแสงแดด และแสงไฟที่มาจากหลอดไฟ แสงหน้าจอโทรศัพท์ แสงหน้าจอคอมพิวเตอร์
เมื่อผิวเราได้รับแสงเหล่านี้ เม็ดสีเมลานิน (Melanin) ที่มีหน้าที่กรองรังสี UV ก็จะผลิตเม็ดสีออกมามากขึ้นตามไปด้วย ส่งผลให้สีผิวไม่สม่ำเสมอจนกลายเป็นฝ้าแดด
โดยชนิดของรังสี UV ที่เป็นตัวการสำคัญของการเกิดฝ้าแดด คือ ‘รังสี UVA’ ซึ่งมีคุณสมบัติที่สามารถทะลุวัตถุได้ มีคลื่นความยาวมากกว่ารังสี UVB ทำให้รังสี UVA ทำลายชั้นผิวของเราได้ลึกกว่าครับ หากไม่มีการปกป้องผิวที่ดีพอ ผิวเราก็มีแนวโน้มที่จะเกิดฝ้าแดดตามมาได้ในอนาคต
คลิกอ่านเพิ่มเติม : รังสี UVA และ UVB คืออะไร ? แตกต่างกันอย่างไร ? อันตรายกับผิวมากกว่าที่คิด
ฝ้าแดด มีทั้งหมดกี่ชนิด ?
ชนิดฝ้าแดด แบ่งได้เป็น 2 ชนิด ดังนี้ครับ
ฝ้าแดดตื้น
ฝ้าแดดตื้น มีรอยขอบฝ้าชัดเจน มักจะมีสีน้ำตาลเข้มไปจนถึงสีดำ เกิดจากการผลิตเม็ดสีเมลานินจำนวนมากเกินไปที่บริเวณชั้นผิวหนังกำพร้า ฝ้าแดดลักษณะนี้มักจะใช้เวลารักษาไม่นาน และเกิดขึ้นได้บ่อยครับ
ฝ้าแดดลึก
ฝ้าแดดลึก มักพบในช่วงอายุ 40 ปีขึ้นไป เกิดจากการผลิตเม็ดสีเมลานินที่มากเกินไปบริเวณชั้นผิวหนังแท้ ฝ้าแดดลักษณะนี้หากเป็นแล้วจะรักษาได้ค่อนข้างยาก และใช้เวลาฟื้นฟูนานกว่าจะหายครับ
ลักษณะของฝ้าแดด
ลักษณะฝ้าแดด คือ ฝ้าแดดจะมีรอยสีน้ำตาล สีแดง สีเทาอมม่วง ไปจนถึงสีดำ มีโอกาสที่ฝ้าแดดจะมีสีเข้มเพิ่มขึ้น จากการที่ผิวโดนแสงแดดมากขึ้นกว่าเดิม รวมถึงการปกป้องผิวไม่ดีพอ ฝ้าแดดก็มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นบริเวณผิวเพิ่มขึ้นได้เช่นกันครับ
วิธีรักษาฝ้าแดด ต้องทำอย่างไร ?
การรักษาแก้ฝ้าแดด จำเป็นต้องใช้เวลาครับ วิธีรักษาฝ้าแดดที่หมอจะแนะนำต่อไปนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นการรักษาฝ้าแดดแบบเร่งด่วน ไม่มีวิธีรักษาแบบธรรมชาติด้วยสมุนไพรครับ
1. หลีกเลี่ยงการเผชิญแสงแดดจัด
การหลีกเลี่ยงการเผชิญแสงแดดจัดระหว่างวัน ในช่วงเวลา 09.00 น. – 16.00 น. จะช่วยป้องกันการเกิดฝ้าแดดได้ครับ เพราะแสงแดดในช่วงเวลาดังกล่าว มีความเข้มข้นของรังสี UV สูงมาก หากเราปกป้องผิวไม่ดีพอ ในระยะยาวก็มีโอกาสที่จะเกิดฝ้าแดดได้เช่นกัน
2. ทาครีมกันแดดเป็นประจำ
แม้ว่าจะเป็นฝ้าแดด เราก็ยังต้องทาครีมกันแดดผิวหน้าและผิวกาย เป็นประจำอย่างสม่ำเสมอครับ เพื่อป้องกันการเกิดฝ้าแดดที่บริเวณอื่น ๆ รวมถึงยังช่วยลดเลือนการเกิดฝ้าแดดที่บริเวณเดิม ไม่ให้มีสีเข้มขึ้นอีกด้วยครับ
โดยควรเลือกครีมกันแดดที่มีค่า SPF และ ค่า PA ให้เหมาะกับการใช้ชีวิตในแต่ละวัน ไม่จำเป็นต้องเลือกครีมกันแดดที่มีค่า SPF และ PA สูงเสมอไป
คลิกอ่านเพิ่มเติม : 10 ข้อดี ประโยชน์ครีมกันแดด มีอะไรบ้าง สำคัญต่อผิวหน้า-ผิวกายอย่างไร ?
ครีมกันแดดผิวหน้า ลดโอกาสเกิดฝ้า
DR. V SQUARE UV ABC SUNSCREEN CREAMSPF40 PA+++
ครีมกันแดดผิวหน้า Dr. V Square UV ABC Sunscreen Cream กันแดดเนื้อ Hybrid ที่ผสมผสานสารกันแดดอย่างลงตัว ตามมาตรฐานเยอรมัน ช่วยปกป้องผิวจากรังสี UVA UVB แสงสีฟ้า (Blue light) และรังสีอินฟราเรดได้อย่างครอบคลุม ผลิตภัณฑ์ Dr. V Square ยังเหมาะกับทุกสภาพผิว ผิวบอบบางใช้ได้ เนื้อสัมผัสบางเบา เกลี่ยง่าย แห้งซึมไว้ พร้อมช่วยบำรุงผิวให้ชุ่มชื้นไปในตัว
3. ใช้ผลิตภัณฑ์ลดเลือนฝ้า
ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ลดเลือนฝ้าหลากหลายแบรนด์ ให้เลือกใช้มากมายครับ โดยเราควรเลือกผลิตภัณฑ์ลดเลือนฝ้าที่มีสาร Whitening เช่น วิตามิน C, Arbutin, AHA ฯลฯ เพราะมีคุณสมบัติในการช่วยปรับสภาพผิวให้กระจ่างใส
ซึ่งจะช่วยลดเลือดฝ้า กระแดด และจุดด่างดำ ให้ค่อย ๆ ลดเลือนลง แต่การรักษาฝ้าด้วยวิธีนี้จะเห็นผลค่อนข้างช้า จำเป็นต้องใช้เวลาสักระยะหนึ่งครับ
4. ใช้ยาทารักษาฝ้า
กลุ่มยาที่ใช้ทารักษาฝ้าแดด เช่น
- กลุ่มกรดวิตามินเอ หรือ เรตินอยด์ (Topical Retinoids/Retinoic Acid)
- คอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids)
- กรดอะซีลาอิก (Azelaic Acid)
- กรดไกลโคลิก (Glycolic Acid)
- กรดโคจิก (Kojic Acid)
โดยการใช้ยาทารักษาฝ้าแดด จะต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแล โดยแพทย์ผิวหนังผู้เชี่ยวชาญเท่านั้นครับ ไม่ควรซื้อยาทารักษาฝ้าแดดมาใช้เองเด็ดขาด เพราะยารักษาฝ้าแดด จะมีฤทธิ์กรดสูง เพื่อใช้ผลัดเซลล์ผิว ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการระคายเคือง หรือมีผลค้างเคียงกับผิวได้
ฉะนั้นแล้วหมอแนะนำว่าควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาทารักษาฝ้าแดดครับ
5. ทำเลเซอร์ลดฝ้า
การทำเลเซอร์ลดฝ้าแดด จะเป็นการยิงเลเซอร์เพื่อปรับสภาพผิว และรักษาความผิดปกติของสีผิว โดยใช้พลังงานความร้อน กำจัดเม็ดสีเมลานินบริเวณผิวหนังของเรา
ซึ่งจะกระตุ้นการผลัดเซลล์ผิวให้ไวขึ้น แต่อาจต้องแลกมากับการที่ผิวบริเวณดังกล่าวจะบางลง รู้สึกไวต่อแสงได้ง่ายขึ้น และยังเป็นการรักษาที่มีค่าใช้จ่ายสูง หากจะให้เห็นผลลัพธ์ที่ดีขึ้น จำเป็นต้องทำเลเซอร์ลดฝ้าต่อเนื่องติดต่อกัน
6. ลอกผิวรักษาฝ้า
การรักษาฝ้าแดดด้วยการลอกผิว ต้องทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้นครับ เพราะจะเป็นการรักษาด้วยการใช้กรดหรือสารเคมี เพื่อทำให้ฝ้าจางลง แต่หากใช้ปริมาณกรดหรือสารเคมีเยอะเกินไป ก็จะส่งผลให้ชั้นผิวของเราเกิดเป็นแผลถาวรขึ้นมาได้ และอาจทำให้ผิวบอบบางลง ผิวแห้ง และมีความไวต่อแสงเพิ่มขึ้น
วิธีป้องกันการเกิดฝ้าแดด
แนวทางป้องกันการเกิดฝ้าแดด สามารถทำตามได้หลายวิธี ดังนี้
- หลีกเลี่ยงการเจอแสงแดด ช่วงเวลา 09.00 น. – 16.00 น. เพราะแสงยูวีมีความเข้มข้นสูง
- สวมใส่อุปกรณ์กันแดด เช่น กางร่ม แว่นกันแดด เสื้อกันยูวี เพื่อป้องกันรังสี UVA จากแสงแดด
- ทาครีมกันแดดหน้าและตัว อย่างน้อย 15-30 นาที ไม่ว่าจะอยู่ในร่ม หรือทำกิจกรรมนอกบ้าน ก็ควรทากันแดดเป็นประจำ และควรหมั่นเติมกันแดดระหว่างวันซ้ำทุก 2 ชั่วโมง
- ทาครีมบำรุงผิวหน้าเป็นประจำ เพื่อเสริมเกราะป้องกันผิว ทำให้ผิวแข็งแรง
- หลีกเลี่ยงกลุ่มยา หรือฮอร์โมน ที่ทำให้เกิดฝ้า เช่น ยาคุมกำเนิด โดยควรใช้ยาชนิดต่าง ๆ ให้อยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เสมอครับ
- ทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น อาหารหรือผลไม้ที่สารต้านอนุมูลอิสระ อย่างส้ม มะเขือเทศ ผลไม้ตระกูลเบอร์รี ฯลฯ
- นอนพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 6-8 ชั่วโมง เพราะการนอนไม่เพียงพอ จะส่งผลให้ฮอร์โมนในร่างกายทำงานได้ไม่ค่อยดี ส่งผลให้เมลานินเกิดความผิดปกติ ทำให้มีรอยฝ้า กระ ชัดมากยิ่งขึ้นครับ
คลิกอ่านเพิ่มเติม : วิธีทากันแดดที่ถูกต้อง สำหรับผิวหน้า – ผิวกาย ให้ผิวสวยห่างไกลจากแสงแดด
ฝ้าแดด กับ ฝ้าเลือด แตกต่างกันอย่างไร ?
ฝ้าแดด มีลักษณะเป็นรอยสีน้ำตาลคล้ำ สีดำ สีแดง สีเทาอมม่วง โดยสาเหตุหลักของการเกิดฝ้าแดดจะมาจากรังสี UVA ในแสงแดดเป็นหลัก
ฝ้าเลือด มีลักษณะเป็นรอยคล้ายเส้นเลือด ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมน ทำให้เส้นเลือดฝอยบนผิวหน้าทำงานผิดปกติ เช่น เส้นเลือดฝอยแตก เส้นเลือดฝอยกระจุกตัวที่ตำแหน่งเดียว
ฝ้าแดด รักษาให้หายขาดได้ไหม ?
ปัจจุบันยังไม่มีวิธีไหนรักษาฝ้าแดดให้หายขาดถาวรได้ครับ
แต่สามารถรักษาฝ้าแดดให้ลดเลือนหรือจางลงได้ด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น การทำเลเซอร์ การกรอผิวด้วยอัญมณี การทาครีมลดฝ้า การใช้ยาทารักษาฝ้าแดด การลอกผิวรักษาฝ้าแดด เพราะตราบใดที่ผิวเรายังต้องเผชิญแสงแดดอยู่ ย่อมมีโอกาสที่จะกลับมาเป็นฝ้าแดดได้ทุกเมื่อ
สรุปเรื่องหน้าเป็นฝ้าแดด
การเกิดฝ้าแดด เกิดขึ้นได้ในเพศหญิงและชาย ในช่วงอายุ 40 ปีขึ้นไป สาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้เกิดฝ้าแดดจะมาจากรังสี UVA ในแสงแดด แม้ว่าการรักษาฝ้าแดดให้หายขาด 100% จะยังไม่มีวิธีที่แน่ชัด แต่เราสามารถปกป้องผิวจากแสงแดด เพื่อลดโอกาสการเกิดฝ้าแดดได้
อย่างน้อยเริ่มต้นที่การทาครีมกันแดดเป็นประจำ ทากันแดดซ้ำระหว่างวัน หลีกเลี่ยงการเจอแสงแดดจัด รวมถึงการสวมใส่อุปกรณ์กันแดด เพียงเท่านี้ก็ช่วยลดโอกาสการเกิดฝ้าแดดในอนาคตได้แล้วครับ