ทากันแดด 2 ข้อนิ้ว

ทากันแดด 2 ข้อนิ้ว VS 2 นิ้วมือ

เรามักจะได้ยินกันว่า การทาครีมกันแดดที่ถูกต้อง คือ การทากันแดด 2 ข้อนิ้ว หรือ 2 นิ้วมือ โดยใช้หน่วยวัดเป็นนิ้วชี้และนิ้วกลาง แล้วการทาครีมกันแดดสองข้อนิ้วมือ ถูกต้องจริงไหม ? สามารถปกป้องผิวจากรังสี UV ได้หรือไม่ ?

การทาครีมกันแดด 2 ข้อนิ้ว กับ การทากันแดด 2 นิ้วมือ ต่างกันอย่างไร ? หมอสรุปข้อมูลให้ในบทความนี้ครับ พร้อมแนะนำวิธีทากันแดดในปริมาณที่เหมาะสม โดยไม่ให้หน้าเป็นคราบตามมา

คลิกอ่านหัวข้อ ทากันแดด 2 ข้อนิ้ว


การทาครีมกันแดด 2 ข้อนิ้ว VS 2 นิ้วมือ ต่างกันอย่างไร ?

  • ทาครีมกันแดด 2 ข้อนิ้ว (2 FTU)

การทาครีมกันแดด 2 ข้อนิ้ว หรือ 2 Finger Tip Unit (2 FTU) จะมีน้ำหนักประมาณ 1 กรัม โดยวัดจากการบีบครีมกันแดดลงบนนิ้วชี้ข้อที่ 1-2 ซึ่งการทากันแดด 2 ข้อนิ้ว จะเหมาะสำหรับการทาเฉพาะบริเวณใบหน้าค่ะ และไม่เพียงพอสำหรับการทาลำคอทั้งด้านหน้า-ด้านหลัง

  • การทาครีมกันแดด 2 นิ้วมือ

การทาครีมกันแดด 2 นิ้วมือ มาจากกฎ 9% (Rule of Nines) ที่จะแบ่งพื้นที่ผิวในร่างกายออกเป็น 11 ส่วนครับ โดยแต่ละส่วนจะมีพื้นที่ 9% ซึ่งการทากันแดด 2 นิ้วมือเต็ม ๆ จะวัดจากการบีบครีมกันแดดลงบนนิ้วชี้และนิ้วกลาง ที่ลากยาวตั้งแต่โคนนิ้วยันปลายนิ้ว โดยการทาครีมกันแดด 2 นิ้วมือ จะเหมาะกับการทาครีมกันแดดทั้งบริเวณใบหน้า และลำคอด้านหน้า-ด้านหลัง

โดยสรุปแล้วความแตกต่างของกันแดด 2 ข้อนิ้ว กับ กันแดด 2 นิ้วมือ มีดังนี้

  • กันแดด 2 ข้อนิ้ว เหมาะกับการทาเฉพาะบริเวณใบหน้า
  • กันแดด 2 นิ้วมือ เหมาะกับการทาบริเวณใบหน้าและลำคอ
การทาครีมกันแดด 2 ข้อนิ้ว
การทาครีมกันแดด 2 ข้อนิ้ว
การทาครีมกันแดด 2 นิ้วมือ
การทาครีมกันแดด 2 นิ้วมือ

ทากันแดด 2 ข้อนิ้ว เพียงพอหรือไม่ ?

การทากันแดดสองข้อนิ้วเพียงพอสำหรับการทาปกป้องผิวเฉพาะบริเวณใบหน้าครับ แต่ไม่เพียงพอสำหรับบริเวณลำคอ การทาผลิตภัณฑ์ครีมกันแดดให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดตามที่ฉลากกำหนดเอาไว้ คือ การทาครีมกันแดด 2 นิ้วมือเต็ม ๆ โดยวัดจากนิ้วชี้และนิ้วกลาง

วิธีทากันแดดที่ถูกต้อง คือ การทาครีมกันแดด 2 นิ้วมือ โดยบีบครีมกันแดดให้เต็มนิ้ว ไม่บีบเป็นเส้นบาง ๆ ตั้งแต่โคนนิ้วข้อสุดท้ายลากยาวไปจนถึงปลายนิ้วข้อแรกครับ


ทาครีมกันแดด 2 ข้อนิ้ว หรือ 2 นิ้วมือ กันแดดได้จริงไหม ?

หากพูดถึงภาพรวมการปกป้องผิวหน้าและลำคอ การทาครีมกันแดด 2 ข้อนิ้ว ยังไม่สามารถปกป้องผิวจากรังสี UV ในแสงแดดได้อย่างครอบคลุมครับ เพราะอย่างที่กล่าวไปตอนต้น ว่าการใช้กันแดด 2 ข้อนิ้ว จะปกป้องผิวได้เฉพาะบริเวณใบหน้าเท่านั้น ไม่เพียงพอกับการทาบริเวณลำคอ

ในทางกลับกัน หากทากันแดด 2 นิ้วมือเต็ม ๆ จะสามารถปกป้องผิวจากคลื่นรังสีในแสงแดดได้ครอบคลุมทั้งบริเวณใบหน้าและลำคอ ทำให้ป้องกันรังสี UV เมื่อต้องโดนแดดได้ดีกว่า

อย่างไรก็ตาม หลังจากทากันแดด 2 นิ้วมือก่อนออกจากบ้านแล้ว จำเป็นต้องเติมกันแดดซ้ำระหว่างวันเสมอ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปกป้องผิวระหว่างวัน


ทำไมควรทากันแดดสองนิ้วมือ ช่วยปกป้องผิวอย่างไร ?

ไม่ว่าจะเป็นการทาครีมกันแดด 2 นิ้วมือ หรือ ทาครีม 2 ข้อนิ้วมือเต็ม ๆ มีส่วนช่วยปกป้องผิวจากรังสี UV อัลตราไวโอเลตได้ครับ เพราะในแสงแดดประกอบไปด้วยคลื่นรังสีต่าง ๆ ทั้งรังสี UVA, UVB, UVC, Blue light และ Infrared

ผิวที่ไม่ทาครีมกันแดด หรือทากันแดดในปริมาณที่น้อยเกินไป มีโอกาสสูงครับที่จะถูกคลื่นรังสีเหล่านี้ทำร้าย โดยเฉพาะรังสี UVA ที่มีความยาวสูงสุด ซึ่งสามารถทำร้ายผิวได้ลึกถึงชั้นผิวหนังแท้ (Dermis)

ทากันแดดสองข้อนิ้วปกป้องผิว
การทาครีมกันแดดช่วยป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาผิว

โดยการทาครีมกันแดด มีส่วนช่วยป้องกันการเกิดปัญหาผิวต่าง ๆ ดังนี้

เพื่อลดโอกาสการเกิดปัญหาผิวต่าง ๆ ข้างต้น การทาครีมกันแดด 2 นิ้วมือ ทั่วบริเวณใบหน้าและลำคอ จะช่วยปกป้องผิวได้ดีกว่าการทากันแดด 2 ข้อนิ้วครับ ยิ่งทำควบคู่ไปกับการทาครีมกันแดดระหว่างวัน รวมถึงการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันแสงแดด ก็จะยิ่งช่วยปกป้องผิวได้ดียิ่งขึ้น

อ่านบทความแนะนำเพิ่มเติม


ทากันแดด 2 ข้อนิ้ว 2 นิ้วมือ อย่างไร ไม่ให้เป็นคราบ ?

เลือกครีมกันแดดให้เหมาะกับสภาพผิว

การเลือกครีมกันแดดสำหรับทาหน้า 2 ข้อนิ้ว 2 นิ้วมือ ให้เหมาะกับสภาพผิว จะช่วยให้เนื้อครีมกันแดดซึมเข้าผิวได้ดี โดยไม่ทำให้หนักหน้า หรือรู้สึกเหนียวเหนอะหนะครับ ก่อนซื้อครีมกันแดดทาหน้า ควรเช็กผิวตัวเองครับว่ามีลักษณะเป็นแบบไหน เช่น

  • ผิวแห้ง ควรใช้กันแดดเนื้อครีม เพราะมีส่วนช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิว ทำให้ผิวไม่แห้งกร้าน หรือเป็นขุยหลังทากันแดด
  • ผิวมัน หรือ ผิวผสม ควรใช้กันแดดที่มีเนื้อสัมผัสแบบโลชั่น เจล หรือน้ำนม เพราะเนื้อครีมจะมีความบางเบา เกลี่ยง่าย ซึมเข้าผิวได้ไวกว่า
  • ผิวบอบบางแพ้ง่าย ควรใช้กันแดดที่มีเนื้อสัมผัสบางเบา ไม่หนัก จะเป็นชนิดครีม โลชั่น เจล หรือน้ำนมก็ได้ครับ พร้อมทั้งต้องหลีกเลี่ยงกันแดดที่มีส่วนผสมทำให้ระคายเคืองผิว เช่น แอลกอฮอล์ น้ำหอม พร้อมทั้งไม่ควรใช้ครีมกันแดดประเภท Chemical Sunscreen อย่างเดียวครับ

คลิกอ่านเพิ่มเติม : กันแดด Physical, Chemical, Hybrid คืออะไร ต่างกันอย่างไร ? Sunscreen ตัวไหนดีที่สุด

ครีมกันแดดทาหน้าสำหรับทุกสภาพผิว
Dr. V Square UV ABC Sunscreen Cream SPF 40 PA+++

กันแดดทา 2 ข้อนิ้ว dr.vsq ใช้ได้ทุกสภาพผิว

Dr. V Square UV ABC Sunscreen Cream SPF 40 PA+++ ครีมกันแดดทาหน้าสูตรอ่อนโยน ที่สามารถใช้ได้กับทุกสภาพผิว แม้ว่าจะมีผิวบอบบางแพ้ง่าย ช่วยป้องกันรังสีในแสงแดดได้ทุกคลื่นรังสี ไม่ว่าจะเป็น UVA 1, UVA 2, UVB, UVC, Blue light และ Infrared สารกันแดดนำเข้าจากประเทศเยอรมันมีความคงตัวสูง ป้องกันการสะท้อน การกระเจิง และการดูดซับได้ภายในเนื้อครีมเดียว

ครีมกันแดด Dr. V Square มีเนื้อสัมผัสที่เกลี่ยง่าย บางเบา ใช้แล้วไม่หนักผิว ทาแล้วสามารถออกแดดได้ทันที ไม่ต้องรอนาน กันน้ำกันเหงื่อสูงสุด 6 ชั่วโมง ทาซ้ำได้ทุก 4 ชั่วโมง มาพร้อมสารสกัด Soothing Cooling นำเข้าจากประเทศเกาหลีใต้ ที่มีส่วนช่วยปลอบประโลมผิวขณะออกแดด ลดโอกาสการเกิดอาการแสบผิว ระคายเคืองผิว เมื่อต้องเผชิญแสงแดด

เลือกครีมกันแดดที่มีค่า SPF และ ค่า PA ที่เหมาะสม

ค่า SPF คือ ค่าชี้วัดว่าครีมกันแดดปกป้องผิวจากรังสี UVB ได้ระดับใด มีตั้งแต่ค่า SPF 15 – SPF 50+

ค่า PA คือ ค่าชี้วัดความสามารถในการปกป้องผิวจากรังสี UVA แบ่งออกเป็น 4 ระดับ คือ ค่า PA+, PA++, PA+++ และ PA++++

โดยครีมกันแดดที่เหมาะสำหรับทากันแดด 2 ข้อนิ้ว หรือ 2 นิ้วมือ คือ ครีมกันแดดที่มีค่า SPF 30 ขึ้นไป และมีค่า PA 3+ ขึ้นไปครับ ค่าการปกป้องระดับนี้ ถือว่าเพียงพอกับการใช้ชีวิตประจำวันทั่วไป

แต่ในกรณีที่ต้องทำกิจกรรมกลางแจ้ง เช่น ไปทะเล เล่นกีฬากลางแจ้ง สามารถใช้ครีมกันแดดที่มีค่า SPF 50 หรือ SPF 50+ ได้ครับ แต่มีข้อควรระวัง คือ ยิ่งใช้ครีมกันแดดที่มีค่า SPF สูงเท่าไร ยิ่งมีโอกาสเกิดการระคายเคืองมากขึ้นตามไปด้วย ฉะนั้นแล้ว ควรทดสอบอาการแพ้ครีมกันแดดก่อนใช้เสมอครับ

คลิกอ่านเพิ่มเติม : อาการแพ้ครีมกันแดด! รักษาและป้องกันอย่างไร ?

ครีมกันแดด 2 ข้อนิ้ว มีค่า SPF และ PA เหมาะสม
ครีมกันแดดทาหน้าควรมีค่า SPF / PA เหมาะสม เพื่อปกป้องผิวจากรังสี UV

แบ่งครีมกันแดดสำหรับทา 2 รอบ

เทคนิคทากันแดด 2 ข้อนิ้วมือเต็ม ๆ ไม่ให้เป็นคราบ ไม่วอก ที่อยากแนะนำ คือ ให้แบ่งครีมกันแดดทา 2 รอบครับ โดยการทาครีมกันแดดรอบแรกให้ใช้แค่เพียง 1 นิ้วมือ เพื่อทาบริเวณใบหน้าและลำคอ จากนั้นรอให้เนื้อครีมกันแดดซึมเข้าผิว แล้วค่อยทากันแดดอีก 1 นิ้วมือที่เหลือ ให้ทั่วใบหน้าและลำคอ

รอครีมกันแดดให้ซึมเข้าผิวก่อนแต่งหน้า

หลังทาครีมกันแดด 2 นิ้วมือ หรือ ทาครีมกันแดดสองข้อนิ้วเรียบร้อยแล้ว ควรรอให้ครีมกันแดดซึมเข้าผิวประมาณ 3-5 นาที จากนั้นจึงค่อยเริ่มแต่งหน้า หรือทาแป้งครับ ไม่เช่นนั้นอาจทำให้หน้าเป็นคราบไคล เป็นขุยหลังทาครีมกันแดดได้

คลิกอ่านบทความแนะนำเพิ่มเติม


วิธีทากันแดด 2 ข้อนิ้วมือเต็ม ๆ แบบถูกวิธี ต้องทำอย่างไร ?

วิธีทาครีมกันแดด 2 ข้อนิ้วมือแบบบีบครีมเต็มนิ้วอย่างถูกต้อง ควรแบ่งรอบการทาครีมกันแดดเป็น 2 รอบครับ ซึ่งหมอขอแนะนำขั้นตอน ดังนี้

วิธีทากันแดด 2 ข้อนิ้วมือเต็ม ๆ แบบถูกวิธี
วิธีทาครีมกันแดดแบบถูกต้อง ปกป้องผิวจากรังสี UV
  1. ทากันแดด 2 ข้อนิ้วมือ ก่อนออกแดดอย่างน้อย 15-30 นาที หรือตามระยะเวลาที่ผลิตภัณฑ์แนะนำ
  2. บีบครีมกันแดด 2 ข้อนิ้วมือเต็ม ๆ ลงบนนิ้วชี้และนิ้วกลาง เริ่มตั้งแต่บริเวณโคนนิ้วมือข้อสุดท้าย ไปจึงข้อนิ้วปลายนิ้วชี้
  3. เกลี่ยครีมกันแดดที่บีบลงนิ้วชี้ให้ทั่วใบหน้าและลำคอ แล้วรอให้เนื้อครีมซึมเข้าผิว
  4. เกลี่ยครีมกันแดดที่บีบลงนิ้วกลางซ้ำอีกรอบ โดยทาให้ทั่วบริเวณในหน้าและลำคอ
  5. ทาครีมกันแดดซ้ำระหว่างวันทุก 2-3 ชั่วโมง

กันแดด 2 ข้อนิ้วมือ เท่ากับกี่ ml. กี่กรัม กี่ช้อนชา ?

หมอขอเปรียบเทียบหน่วยวัดต่าง ๆ ของการทาครีมกันแดด 2 ข้อนิ้วมือเต็ม ๆ ให้เห็นภาพ ดังนี้

  • กันแดด 2 ข้อนิ้วเต็ม ๆ = 2 มิลลิกรัม / พื้นที่บนใบหน้า 1 ตารางเซนติเมตร
  • กันแดด 2 ข้อนิ้วเต็ม ๆ = 1 กรัม
  • กันแดด 2 ข้อนิ้วเต็ม ๆ = ¼ ช้อนชา

การเปรียบเทียบข้างต้น จะเป็นการประมาณการคร่าว ๆ จากการที่บีบครีมกันแดด 2 ข้อนิ้วมือเต็ม ๆ นะครับ หากบีบครีมกันแดดมากกว่าหรือน้อยกว่านั้น ปริมาณครีมกันแดดจะเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย


สรุป ทากันแดด 2 ข้อนิ้ว หรือ 2 นิ้วมือ แบบไหนดีกว่า

การทาครีมกันแดดให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด คือ การทากันแดด 2 นิ้วมือเต็ม ๆ ไม่ใช่ทากันแดด 2 ข้อนิ้ว เพราะจะปกป้องผิวจากรังสี UV ได้ทั้งใบหน้าและลำคอ ช่วยลดโอกาสการเกิดปัญหาผิวที่มีแสงแดดเป็นตัวกระตุ้นได้ดีกว่า อย่างไรก็ตาม ควรหมั่นทากันแดดซ้ำระหว่างวันทุก 2-3 ชั่วโมงเสมอครับ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของครีมกันแดดให้ปกป้องผิวได้อย่างต่อเนื่อง

อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่: 6 มกราคม 2568

Share: