UV Index
ในแต่ละวันความเข้มข้นของรังสี UV ในแสงแดดมีความแตกต่างกันครับ โดยมักจะวัดค่าความเข้มข้นของรังสี UV ด้วย UV Index เพื่อวัดว่ารังสียูวีที่ส่องมายังโลกของเรา มีระดับความรุนแรงแค่ไหน ?
บทความนี้หมอได้สรุปมาให้แล้วครับ ว่าค่า UV Index คืออะไร ? มีกี่ระดับ ? ดัชนีรังสีอัลตราไวโอเลตของแดดประเทศไทยเท่าไหร่ ? สามารถเช็กค่า UV Index ได้จากที่ไหน ? ติดตามได้ผ่านบทความนี้ครับ
คลิกอ่านหัวข้อ UV Index
ค่า UV Index คืออะไร ?
UV Index (ดัชนีรังสีอัลตราไวโอเลต) คือ ค่าสำหรับใช้วัดความเข้มข้นของรังสีอัลตราไวโอเลต (รังสี UV) ในแต่ละพื้นที่ ว่า ณ เวลานั้น ๆ ความแรงของแดดที่ส่องมายังโลกรุนแรงระดับไหน
การวัดผลค่า UV Index ถูกคิดค้นโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวแคนาดาเมื่อปี ค.ศ. 1992 และต่อมาในปี ค.ศ. 1994 National Weather Service (NWS) และ U.S. Environmental Protection Agency (EPA) ได้นำมาปรับใช้ เพื่อให้ประชาชนทราบระดับความรุนแรงของรังสี UV ล่วงหน้า จะได้เตรียมวิธีการป้องกันตัวจากความเข้มข้นของรังสี UV
แดดประเทศไทยมีค่า UV Index เท่าไหร่ ?
สำหรับแสงแดดประเทศไทย มีความเข้มข้น UV Index เฉลี่ยที่ 11-12 ถือว่าอยู่ในระดับสีม่วง ที่มีการแผ่รังสี UVA / UVB ในระดับสูงจัด (Extrem) ตามหน่วยวัด UV Index ที่ทาง WHO หรือ องค์การอนามัยโลกใช้วัดครับ
ฉะนั้นแล้วการใช้ชีวิตประจำวันในประเทศไทยที่มีค่า UV Index ในระดับสูงจัด จึงจำเป็นต้องปกป้องผิวจากรังสี UV ในแสงแดดอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้ผิวถูกรังสี UV ทำร้าย จนเกิดปัญหาผิวต่าง ๆ ตามมา ที่สำคัญยังช่วยลดโอกาสเกิดโรคมะเร็งผิวหนัง (Skin Cancer) ในระยะยาวได้ครับ
UV Index มีกี่ระดับ ?
ค่า UV Index แบ่งออกเป็น 6 ระดับครับ โดยอ้างอิงจากค่าวัดมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก (WHO)
ความเข้มของ UV Index แต่ละระดับ มีรายละเอียดดังนี้
UV Index | ระดับสี | ระดับความรุนแรง |
---|---|---|
1-2 | สีเขียว | Low (ต่ำ) |
3-5 | สีเหลือง | Moderate (ปานกลาง) |
6-7 | สีส้ม | High (สูง) |
8-10 | สีแดง | Very High (สูงมาก) |
11+ | สีม่วง | Extrem (สูงจัด) |
ตารางแสดงระดับความรุนแรง UV Index ระดับต่าง ๆ
สีเขียว 1-2 ระดับต่ำ (Low)
UV Index ค่า 1-2 มีความเข้มข้นรังสี UV ระดับต่ำ มีความสามารถในการแผ่รังสีน้อย
เมื่อเผชิญแสงแดดในช่วงที่ UV Index ต่ำ ร่างกายจะไม่ได้รับผลกระทบจากรังสี UV ครับ มักพบ UV Index ระดับนี้ตอนเช้าช่วงเวลา 07.00 น. เหมาะมาก ๆ สำหรับการออกกำลังกายช่วงเช้า หรือตากแดดเพื่อเพิ่มวิตามิน D ให้ร่างกาย
สีเหลือง 3-5 ระดับปานกลาง (Moderate)
UV Index ที่อยู่ในช่วง 3-5.9 มีความเข้มข้นรังสี UV ระดับปานกลาง มักพบได้บ่อยในช่วงเวลา 08.00 น. และ 16.00 น. ค่า UV Index ระดับนี้ปลอดภัยครับ และไม่ส่งผลกระทบใด ๆ กับร่างกาย เมื่อสัมผัสแสงแดด 2 ช่วงเวลานี้
สีส้ม 6-7 ระดับรุนแรงสูง (High)
UV Index ในช่วง 6-7.9 เริ่มมีระดับความรุนแรงสูงครับ และพบได้บ่อยเมื่อต้องเผชิญแสงแดดในช่วงเวลา 09.00 น. – 15.00 น. หากเป็นไปได้หมออยากแนะนำให้เลี่ยงแดดช่วงเวลาดังกล่าว ในกรณีที่ต้องออกแดดควรปกป้องผิวจากแสงแดดให้ถูกวิธีอยู่เสมอครับ
สีแดง 8-10 รุนแรงสูงมาก (Very High)
UV Index ตั้งแต่ช่วง 8-10 มีความเข้มข้นรังสี UV ระดับสูงมาก และมีผลกระทบต่อร่างกายหากผิวไม่ได้รับการปกป้องอย่างดีพอ ช่วงเวลาที่พบค่า UV Index ได้บ่อย คือ เวลา 14.00 น. – 15.00 น.
สีม่วง 11+ รุนแรงระดับสูงจัด (Extrem)
UV Index ตั้งแต่ 11+ ขึ้นไป พบได้บ่อยในช่วงเวลา 11.00 น. – 13.00 น. โดยรังสี UV ที่แผ่ออกมาจะมีความเข้มข้น และรุนแรงมากที่สุด
หากไม่มีการปกป้องผิวเมื่อต้องเผชิญแดดช่วงเวลานี้ จะทำให้เกิดผลกระทบต่อผิวมากที่สุด เช่น ผิวไหม้แดดจากรังสี UVB และในระยะยาวอาจเกิดฝ้า กระ จุดด่างดำ ริ้วรอยก่อนวัยได้ ซึ่งเป็นผลมาจากรังสี UVA ครับ
คลิกอ่านเพิ่มเติม : ผลจาก UVA และ UVB ทำร้ายผิวอย่างไร ? พร้อมวิธีป้องกันรังสียูวีในแสงแดด
UV Index ระดับไหนอันตราย ? ส่งผลต่อผิวอย่างไร ?
ค่า UV Index ตั้งแต่ระดับ 6+ ขึ้นไป เริ่มส่งผลกระทบต่อผิวแล้วครับ หากไม่มีการปกป้องผิวจากรังสี UV อย่างดีพอ โดย UV Index ที่มีความเข้มข้นสูง ล้วนส่งผลต่อผิว ดังนี้
- ผิวไหม้แดด (Sunburn) มีสาเหตุจากรังสี UVB ทำให้ผิวเริ่มแดง หรือรู้สึกแสบร้อนผิวขณะออกแดด หลังจากนั้นอาจมีอาการผิวไหม้ ผิวลอกตามมาได้ครับ บางรายที่ผิวไหม้แดดรุนแรงอาจถึงขั้นไข้ขึ้น มีตุ่มน้ำพุพองขึ้นบริเวณผิวที่โดนแดดได้
- ฝ้าแดด มีลักษณะเป็นปื้นสีน้ำตาล โดยรังสี UVA ในแสงแดดเป็นศัตรูตัวฉกาจของการเกิดฝ้าแดดครับ ซึ่งรังสี UVA จะกระตุ้นการผลิตเม็ดสีเมลานิน (Melanin) ในเซลล์ใต้ผิวหนัง ให้ผลิตเม็ดสีออกมามากกว่าปกติ จึงส่งผลทำให้ผิวบริเวณนั้นดูเข้มขึ้น
- กระแดด มีลักษณะคล้ายกับน้ำหมึกหยดลงบนผิว โดยมีรังสี UVA เป็นอีกปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดกระแดดครับ และมักพบได้ในช่วงวัย 40 ปีขึ้นไป ทั้งเพศชายและหญิง
- ริ้วรอยก่อนวัย เช่น รอยย่นหน้าผาก รอยตีนกา ฯลฯ มีต้นเหตุมาจากรังสี UVA เช่นเดียวกันครับ แม้ว่า UV Index จะไม่ส่งผลทันที แต่ในระยะยาวผิวที่ไม่ทากันแดด มีโอกาสการเกิดริ้วรอยแห่งวัยได้
- กระตุ้นการเกิดสิวอักเสบ จากสิวอุดตันเป็นสิวอักเสบได้ เพราะแสงแดดที่มี UV Index สูง จะกระตุ้นให้ผิวผลิตน้ำมันส่วนเกินออกมาครับ เมื่อมีผิวหน้ามันและมีสิวอุดตันเป็นทุนเดิม มีโอกาสทำให้หน้าเป็นสิวอักเสบได้ครับ
- ผิวหมองคล้ำ หน้าแลดูโทรม ล้วนเป็นมาจากรังสี UV ครับ ยิ่งเผชิญแสงแดดในช่วงที่มีความเข้มข้นของ UV Index สูง โดยเฉพาะช่วงเที่ยงวัน ก็ยิ่งมีโอกาสทำให้ผิวหมองคล้ำ และหน้าโทรมได้ครับ เมื่อปกป้องผิวจากแสงแดดไม่ดีพอ
- โรคเกี่ยวกับดวงตา เช่น ต้อลม ต้อเนื้อ ตาไวต่อแสง ฯลฯ มีผลมาจากรังสี UV ในแสงแดดครับ ยิ่งช่วงไหนที่มี UV Index สูง หากไม่สวมใส่แว่นกันแดด UV ในระยะยาวมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคเกี่ยวกับดวงตาได้ครับ
- โรคมะเร็งผิวหนัง มีสาเหตุหลักมาจากรังสี UV ในแสงแดด ที่มีความเข้มข้นของ UV Index สูง ผิวที่ไม่ได้ทากันแดดเป็นประจำ ในระยะยาวจึงมีโอกาสเสี่ยงเป็นผิวหนังได้มากกว่าคนที่ทาครีมกันแดด
แนวทางป้องกันผิวจาก UV Index แต่ละระดับ
แนวทางการปกป้องผิวจาก UV Index แต่ละระดับ มีดังนี้
ควรใช้ครีมกันแดดค่า SPF และ ค่า PA เท่าไหร่ ป้องกัน UV Index
สำหรับการปกป้องผิวจากแสงแดดเมืองไทย ที่มีค่า UV Index ระดับสูงจัด หมอแนะนำให้ใช้ครีมกันแดดค่า SPF 30 ขึ้นไป และมีค่า PA 3+ ขึ้นไป หรือมีค่า PPD มากกว่า 10 เช่น
- SPF 30 PA+++
- SPF 30 PA++++
- SPF 50 PA+++
- SPF 50 PA++++
- SPF 50+ PA+++
- SPF 50+ PA++++
การใช้ครีมกันแดด SPF 30 ป้องกัน UV Index ถือว่าเพียงพอแล้วครับ เพราะให้การปกป้องผิวจากรังสี UVB มากกว่าผิวปกติที่ไม่ทากันแดดได้ 96.7% ในขณะที่กันแดด SPF 50 ปกป้องผิวได้ 98% ค่าความต่างเฉลี่ยประมาณ 1.3% ไม่ได้มีผลมากขนาดนั้นครับ จึงสามารถใช้กันแดดที่มีค่า SPF เริ่มต้นที่ 30 ได้
ส่วนการใช้กันแดดปกป้องผิวจาก UV Index ที่มีค่า SPF 50+ ขึ้นไป ต้องระมัดระวังอาการระคายเคืองครับ เพราะมีความเข้มข้นของสารป้องกันรังสี UVB ในครีมกันแดดสูง จึงควรทดสอบอาการแพ้ระคายเคืองก่อนใช้เสมอ
หมอขอสรุปแนวทางการเลือกกันแดด ป้องกัน UV Index เพิ่ม ดังนี้
- ครีมกันแดดควรมีค่า SPF 30+ และ ค่า PA 3+ ขึ้นไป
- มีส่วนผสมที่เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวหลังทา เช่น กลีเซอรีน (Glycerin) กรดไฮยาลูโรนิก ฯลฯ
- ปกป้องผิวได้ทุกคลื่นรังสี ทั้ง UVA 1, UVA 2, UVB, Blue light และอินฟราเรด
- มีส่วนผสมช่วยปลอบประโลมผิว ลดโอกาสการเกิดผิวไหม้แดด เช่น Aloe Vera, Cooling Soothing ฯลฯ
- เนื้อสัมผัสบางเบา เกลี่ยง่าย แห้งซึมเข้าผิวไว เข้ากับสภาพผิว
- กันแดดได้ทั้ง 3 กระบวนการ ลดการสะท้อน การกระเจิง และการดูดซับ
- ไม่มีสารอันตราย ใช้แล้วไม่ก่อให้เกิดการอุดตัน ไม่มีส่วนผสมน้ำมัน (Non-Comedogenic)
- มีงานวิจัยรองรับ และผ่านการทดสอบการใช้งานจริง
- หลีกเลี่ยงกันแดดประเภท Chemical ควรใช้เป็น Physical หรือ Hybrid เพื่อป้องกันการระคายเคือง
ครีมกันแดดทาหน้า ปกป้องผิวจาก UV Index
Dr. V Square UV ABC Sunscreen Cream SPF 40 PA+++
ครีมกันแดดทาหน้า Dr. V Square UV ABC Sunscreen Cream ช่วยปกป้องผิวจาก UV Index ได้ทุกคลื่นรังสี ไม่ว่าจะเป็น UVA 1, UVA2, UVB, UVC, Blue light และ Infrared ตัวนี้เป็น Hybrid Sunscreen มาพร้อมค่า SPF 40 PA+++ ที่กันแดดได้ 3 กระบวนการภายในเนื้อเดียว ป้องกันการสะท้อน การกระเจิง และการดูดซับ จากรังสี UV ในแสงแดดได้
ซึ่งครีมกันแดด Dr. V Square สามารถใช้ได้ทุกสภาพผิว แม้มีผิวบอบบางแพ้ง่าย เนื้อสัมผัสเป็นแบบครีมบางเบา เกลี่ยง่าย แห้งซึมเข้าผิวไว มีสารสกัด Soothing Cooling นำเข้าจากประเทศเกาหลีใต้ ที่มีส่วนช่วยปลอบประโลมผิว ลดอาการแสบผิว และผิวแดง ขณะที่ทำกิจกรรมกลางแดดในช่วงที่มีค่า UV Index สูงครับ
ตรวจเช็กค่า UV Index จากที่ไหนได้บ้าง ?
สามารถตรวจเช็กค่า UV Index ในเมืองไทยได้ที่ ‘ศูนย์โอโซนและรังสี’
โดยจะมีการระบุค่าดัชนีรังสี UV สูงสุด 25 จังหวัด แม้จะไม่ได้ครบทุกจังหวัดในไทย แต่สามารถเช็กค่า UV Index ได้จากจังหวัดที่ใกล้เคียงที่สุดครับ
นอกจากนี้ยังแสดงระดับ UV Index ตามช่วงเวลาต่าง ๆ ทำให้ทราบเพิ่มเติมครับ ว่าช่วงเวลาไหนที่ควรหลีกเลี่ยงการเผชิญแสงแดดจัด เพื่อปกป้องผิวหน้า ผิวกาย จากรังสี UV
สรุปเรื่องค่า UV Index
UV Index คือ ค่าวัดความเข้มข้นของรังสี UV ว่ามีระดับความรุนแรงมาก-น้อยแค่ไหน ซึ่งแดดเมืองไทยมีค่า UV Index เฉลี่ยที่ 11-12 ถือว่าเป็นระดับสูงจัด ที่จำเป็นต้องปกป้องผิวจากแสงแดดให้ถูกวิธีเสมอ
วิธีที่ง่ายที่สุด คือ การทาครีมกันแดด SPF 30+ PA 3+ เป็นประจำทุกวัน พร้อมทั้งหมั่นทาครีมกันแดดซ้ำระหว่างวันเสมอ ร่วมกับการสวมใส่อุปกรณ์กันแดด ก็จะช่วยปกป้องผิวจาก UV Index ที่มีความรุนแรงสูงได้ครับ และยังช่วยลดโอกาสการเกิดปัญหาผิวในระยะยาวได้เช่นกัน
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- U.S. Environmental Protection Agency. (n.d.). A Guide to the UV Index. EPA. https://www.epa.gov/sites/default/files/documents/uviguide.pdf