แดดช่วงไหนอันตราย
รังสี UV ในแสงแดด เป็นสาเหตุหลักของการเกิดปัญหาผิวครับ แดดช่วงไหนอันตราย รุนแรงที่สุด ? เป็นช่วงเวลาที่เราควรทราบ เพื่อจะได้เตรียมตัวรับมือได้อย่างถูกวิธี
ในบทความนี้หมอได้สรุปข้อมูลให้แล้วครับ ว่าแดดช่วงไหนอันตราย ? แสงแดดแต่ละช่วงเวลาส่งผลต่อผิวอย่างไรบ้าง ? ควรหลีกเลี่ยงแสงแดดช่วงไหน ? พร้อมแนะนำวิธีปกป้องผิวจากแสงแดด ติดตามได้ผ่านบทความนี้ครับ
คลิกอ่านหัวข้อ แดดช่วงไหนอันตราย
แดดช่วงไหนอันตราย รุนแรงที่สุด จนส่งผลกระทบต่อผิว
แสงแดดช่วงเช้า-สาย 06.00 น. – 09.00 น.
สำหรับแสงแดดประเทศไทย ในตอนเช้าช่วงเวลาตั้งแต่ 06.00 น. – 09.00 น. ไม่เป็นอันตรายร้ายแรงต่อผิวครับ จึงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะกับการรับวิตามิน D จากแสงแดด
เพราะประโยชน์ของแสงแดดในตอนเช้า จะช่วยให้ร่างกายสังเคราะห์วิตามิน D3 จากรังสี UVB ได้ แถมการรับแดดช่วงเช้ายังช่วงให้ร่างกายตื่นตัว พร้อมเริ่มวันใหม่อย่างสดใส
โดยควรตากแดดช่วงเช้าอย่างน้อยวันละ 15 นาที จะดีต่อร่างกายในระยะยาวครับ
แสงแดดช่วงสาย-บ่าย 10.00 น. – 16.00 น.
แดดช่วงไหนอันตราย ? แดดช่วงไหนแรงที่สุด ? คือ แสงแดดช่วงเวลา 10.00 น. – 16.00 น. ครับ
โดยแสงแดดในช่วงเวลาเหล่านี้ เป็นช่วงเวลาที่มีความเข้มข้นของรังสี UVA / UVB แสงสีฟ้า และอินฟราเรดสูง จึงเป็นอันตรายต่อผิวมากกว่าแดดช่วงเวลาอื่น หากเป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยงการโดนแดดในเวลาดังกล่าว
เพราะการเผชิญแสงแดดจัดในช่วงเวลานี้ ล้วนเป็นต้นเหตุของการเกิดปัญหาผิว เช่น ฝ้า กระ จุดด่างดำ ริ้วรอยก่อนวัยอันควร ฯลฯ
นอกจากนี้ในระยะยาวยังเพิ่มโอกาสเกิดโรคมะเร็งผิวหนัง (Skin Cancer) และโรคทางดวงตาได้ครับ เช่น ต้อลม กระจกตาอักเสบ จอประสาทตาเสื่อม ฯลฯ
คลิกอ่านเพิ่มเติม : แสงแดด มีรังสีอะไรบ้าง ? ทำร้ายผิวได้อย่างไร ? รังสีไหนอันตรายที่สุด ?
แสงแดดช่วงเย็น 16.00 น. -18.00 น.
สำหรับแสงแดดในช่วงเวลา 16.00 น. -18.00 น. เป็นช่วงที่รังสีอัลตราไวโอเลต (รังสี UV)มีความเข้มข้นน้อยลงครับ จึงเหมาะกับการทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การออกกำลังกายกลางแจ้ง หรือจะรับวิตามิน D ในช่วงนี้ก็ได้เช่นกัน ซึ่งจะช่วยเรื่องการดูดซึมแคลเซียม รวมถึงป้องกันโรคกระดูกพรุน
แต่การเผชิญแสงแดดเวลานี้ในช่วงหน้าร้อน ยังจำเป็นต้องทาครีมกันแดดก่อนออกแดดเสมอครับ เพื่อปกป้องผิวไหม้แดดจากรังสี UVB เพราะเราจะยังสัมผัสได้ถึงความร้อนของแสงแดด และกว่าแดดจะเริ่มร่มจริง ๆ ก็เกือบเวลา 18.00 น.
ผลกระทบเมื่อผิวสัมผัสแสงแดดในช่วงเวลาที่เป็นอันตราย
อันตรายจากแสงแดด ในช่วงเวลา 10.00 น. – 16.00 น. แม้จะยังไม่ส่งผลกระทบต่อผิวในทันที แต่ในระยะยาวล้วนส่งผลกระทบต่อผิว ดังนี้
- ฝ้าแดด เกิดจากรังสี UVA และแสงสีฟ้า ในแสงอาทิตย์ รวมถึงแสงจากหน้าจอโทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ หลอดไฟ ฯลฯ โดยแสงเหล่านี้จะกระตุ้นให้ร่างกายผลิตเม็ดสีเมลานิน (Melanin) ออกมามากกว่าปกติ ส่งผลให้สีผิวบริเวณนั้นเข้ม จนกลายเป็นฝ้าเกิดขึ้น
- กระแดด จะเกิดขึ้นบริเวณผิวที่ผ่านการสัมผัสแสงแดดติดต่อกันเป็นระยะเวลานานครับ มีลักษณะคล้ายกับน้ำหมึกที่หยดลงบนผิว ไม่มีรอยนูนเกิดขึ้น
- ผิวไหม้แดด จะทำให้รู้สึกแสบร้อนผิว หรือมีรอยแดงเกิดขึ้นทันทีในขณะตากแดด มีสาเหตุหลักมาจากรังสี UVB ที่ทำร้ายผิวหนังชั้นกำพร้า (Epidermis) บางรายที่มีอาการรุนแรง มักจะมีตุ่มน้ำใส ๆ ขึ้นบริเวณผิว มีอาการคัน ปวดแสบปวดร้อนร่วมด้วยครับ
- สิวอักเสบ พัฒนามาจากสิวอุดตันที่ถูกแสงแดดกระตุ้นครับ เมื่อผิวหน้ามีความมันเป็นทุนเดิม หากสัมผัสรังสี UV ในแสงแดด ก็จะยิ่งกระตุ้นต่อมไขมัน ให้ผลิตน้ำมันออกมามากขึ้น และเมื่อหน้าที่มันสัมผัสกับมลภาวะ จึงเกิดการอุดตันเพิ่มขึ้น จนกลายเป็นสิวอักเสบในที่สุด
- หน้าโทรม ผิวหน้าไม่สดใส มีผลมาจากรังสี UV ในแสงแดดเช่นกัน ที่สามารถทำลายผิวได้ถึงชั้นโครงสร้างผิว ทำให้ผิวแห้ง สีผิวไม่สม่ำเสมอ ทำให้เวลามองจะมีความรู้สึกว่าหน้าโทรมขึ้นกว่าเดิมครับ เพราะเกิดปัญหาผิวแบบต่าง ๆ
- ผิวหมองคล้ำ หน้าหมองคล้ำเกิดจากรังสี UV ในแสงแดด โดยเฉพาะรังสี UVA ที่สามารถทำลายผิวได้ลึกถึงชั้นผิวหนังแท้ (Dermis) ส่งผลให้ผิวหมองคล้ำ มีสีผิวไม่เรียบเนียนสม่ำเสมอ
- โรคที่เกิดจากแสงแดด มีสาเหตุหลักมาจากรังสี UVA / UVB รวมถึงรังสีอื่น ๆ ในแสงแดด การเผชิญแสงแดดจัดติดต่อกันโดยไม่มีการป้องกัน หรือไม่ทากันแดด มีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งผิวหนังได้ครับ
หากต้องเผชิญแสงแดดช่วงเวลาอันตราย ต้องปกป้องผิวอย่างไร
หากจำเป็นต้องเผชิญแสงแดดในช่วงเวลา 10.00 น. – 16.00 น. ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่แสงแดดอันตรายและรุนแรงที่สุด หมอขอแนะนำวิธีป้องกันแดดดังนี้
ทาครีมกันแดดปกป้องผิวทุกวัน
การทาครีมกันแดดเป็นประจำทุกวัน จะช่วยปกป้องผิวจากรังสี UV และมลภาวะได้ครับ โดยควรเลือกผลิตภัณฑ์กันแดดที่ปกป้องผิวได้ทุกคลื่นรังสี ไม่ว่าจะเป็นรังสี UVA / UVB / UVC แสงสีฟ้า และอินฟราเรด
นอกจากนี้ต้องมีค่า SPF 30 ขึ้นไป และมีค่า PA 3+ ขึ้นไป มีคุณสมบัติกันน้ำ กันเหงื่อ เพราะจะปกป้องผิวจากแสงแดดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และอาจจะมองหาคุณสมบัติของครีมกันแดดเพิ่มเติมได้ เช่น มีส่วนผสมเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิว หรือสารสกัดที่ช่วยลดอาการแสบผิวเมื่อสัมผัสแสงแดด
ครีมกันแดดทาหน้า ลดปัญหาผิวจากแสงแดด
DR. V SQUARE UV ABC SUNSCREEN CREAM SPF40 PA+++
ครีมกันแดดทาหน้า Dr. V Square UV ABC Sunscreen Cream SPF 40 PA+++ สามารถปกป้องผิวจากรังสีในแสงแดดได้ทุกคลื่นรังสี ครอบคลุมทั้งรังสี UVA / UVB / UVC แสงสีฟ้า และอินฟราเรด สารกันแดดนำเข้าจากประเทศเยอรมัน มีความคงตัวสูง ป้องกันการสะท้อน การกระเจิง และการดูดซับได้ ภายในเนื้อครีมเดียว
โดยผลิตภัณฑ์กันแดด Dr. V Square สามารถใช้ได้ทุกสภาพผิว แม้ผิวบอบบางแพ้ง่าย ปลอดสารอันตรายที่ก่อให้เกิดสิวหรือการระคายเคือง มาพร้อมสารสกัด Soothing Cooling จากประเทศเกาหลีใต้ ที่ช่วยลดอาการแสบผิวหลังออกแดด เนื้อสัมผัสเกลี่ยง่าย บางเบา พร้อมเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวหลังทา
หมั่นเติมกันแดดซ้ำระหว่างวันก่อนออกแดด
การทาครีมกันแดดตอนเช้าก่อนออกจากบ้าน ไม่เพียงพอต่อการปกป้องผิวทั้งวันครับ เพราะประสิทธิภาพกันแดดสามารถดรอปลงได้ จากการที่ผิวหน้าเหงื่อออก หรือสัมผัสน้ำ
หากต้องเผชิญแสงแดดจัดในช่วงเวลาที่เป็นอันตราย ที่มีความเข้มข้นของรังสี UV สูง วิธีทากันแดดที่ถูกต้อง คือ ควรหมั่นเติมกันแดดระหว่างวันอยู่เสมอ อย่างน้อยทุก 4-6 ชั่วโมง เพื่อเสริมประสิทธิภาพการปกป้องผิวให้ดียิ่งขึ้น
โดยควรมองหาผลิตภัณฑ์กันแดดที่สามารถใช้ทากันแดดซ้ำระหว่างวันได้ จะเป็นในรูปแบบครีม กันแดดแท่ง หรือสเปรย์กันแดดก็ได้เช่นกันครับ
คลิกอ่านเพิ่มเติม : ครีมกันแดดทาตอนไหน เห็นผลดีที่สุด พร้อมตอบคำถามก่อนทากันแดด
สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันแสงแดด
นอกจากทาครีมกันแดดแล้ว วิธีปกป้องผิวจากแสงแดดที่ไม่ควรมองข้าม คือ การใช้อุปกรณ์ป้องกันแสงแดดครับ เช่น กางร่มกันรังสียูวี สวมใส่เสื้อกัน UV ใส่หมวก ฯลฯ
นอกจากนี้ควรใส่แว่นกันแดดทุกครั้ง เพื่อปกป้องผิวรอบดวงตาจากแสงแดด เพราะจะช่วยลดโอกาสการเกิดโรคเกี่ยวกับดวงตา ที่มีสาเหตุมาจากแสงแดดได้ครับ
ใส่เสื้อผ้าให้มิดชิด เน้นชุดสีเข้ม เนื้อผ้าหนา
ในวันที่ต้องเผชิญแสงแดดจัดระหว่างวัน ควรสวมใส่เสื้อผ้าให้มิดชิด เช่น ใส่เสื้อคลุมแขนยาว กางเกงขายาว โดยเน้นเสื้อผ้าเป็นสีเข้ม เช่น สีดำ สีเทา สีน้ำตาล และควรเป็นผ้าเนื้อหนา เพราะสามารถดูดซับรังสี UV ได้ดีกว่าเสื้อผ้าสีอ่อน และผ้าเนื้อบางครับ
ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ
แสงแดดในช่วงกลางวันมีความร้อนสูงเป็นทุนเดิมอยู่แล้วครับ หากออกไปเผชิญแสงแดดในช่วงเวลาดังกล่าว มีความเสี่ยงที่อาจจะเกิดโรคลมแดด หรือ ฮีทสโตรก (Heat Stroke) ได้
จึงควรดื่มน้ำเปล่าสะอาดให้เพียงพอ รวมถึงควรหมั่นจิบน้ำระหว่างวัน เพื่อป้องกันอาการขาดน้ำ และยังเป็นการลดอุณหภูมิร่างกายไม่ให้สูงจนเกินไปครับ
ไม่ควรตากแดดตอนไหน เพื่อป้องกันอันตรายจากแสงแดด
ช่วงเวลา 10.00 น. – 16.00 น. เป็นช่วงเวลาที่ไม่ควรตากแดด และหากเป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยงการเผชิญแสงแดดในช่วงเวลาดังกล่าวครับ
เพราะช่วงเวลานี้ มีความเข้มข้นของรังสี UV สูง หากสัมผัสแสงแดดโดยตรง โดยที่ไม่ได้มีการปกป้องผิวที่ดีพอ อาจจะทำให้ผิวไหม้แดด รู้สึกแสบผิว ผิวแดงขึ้นทันทีขณะตากแดด
นอกจากนี้ในระยะยาวยังมีโอกาสเกิดฝ้า กระ จุดด่างดำ ริ้วรอยก่อนวัยได้อีกด้วยครับ ส่งผลทำให้หน้าแลดูโทรม สีผิวไม่สม่ำเสมอก่อนวัยอันควรได้
สรุปเรื่องช่วงเวลาที่แสงแดดอันตรายที่สุด
แดดช่วงไหนอันตราย รุนแรงที่สุด ? คำตอบคือ แสงแดดในช่วงเวลา 10.00 น. – 16.00 น. ครับ
หากเป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยงการออกแดดในช่วงเวลานี้ แต่หากมีความจำเป็นต้องเผชิญแสงแดดในช่วงเวลาดังกล่าว ควรทาครีมกันแดดที่มีค่า SPF และ ค่า PA เหมาะสม พร้อมสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันแสงแดดเสมอ เพราะจะช่วยป้องกันการเกิดปัญหาผิวที่อาจจะตามมาในอนาคตได้ครับ
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- Anonymous. (June 17, 2024). Ultraviolet (UV) Radiation and Sun Exposure. Epa.Gov https://www.epa.gov/radtown/ultraviolet-uv-radiation-and-sun-exposure